สรุปข่าว
วันนี้ ( 13 ต.ค. 66 )ความคืบหน้าสถานการณ์สงครามอิสราเอล-ฮามาส ในภูมิภาคตะวันออกกลางล่าสุดยังไม่สงบลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานไทยในเขตฉนวนกาซา ซึ่งมีอยู่ราว 5,000 คน จากจำนวนทั้งหมด 30,000 คน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้มีแรงงานไทยเสียชีวิตแล้วทั้ง 21 คน ถูกลักพาตัว 16 คน เหตุดังกล่าวทำให้คนแรงงานไทยบางส่วนแจ้งความประสงค์ ที่จะกลับประเทศ
อย่างไรก็ตามประเทศอิสราเอลเป็น 1 จุดหมายปลายทางของแรงงานไทยที่นิยมเดินทางไปใช้แรงงาน เนื่องจากมีโครงการที่ถูกต้องตามกฏหมายผ่านภาครัฐ และ มีการจ่ายค่าตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ
นอกจากนี้ ความต้องการแรงงานต่างชาติในอิสราเอลมีจำนวนมากโดยเฉพาะในสาขาอาชีพที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ งานสกปรก อันตราย และงานหนัก ซึ่งชาวอิสราเอลไม่ต้องการทำ แต่ทางการอิสราเอลอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างชาติใน 4 ประเภทกิจการเท่านั้น คือ ภาคงานเกษตร , ภาคการก่อสร้าง , ภาคงานบริการ (ดูแลคนชราและผู้พิการ) และภาคอุตสาหกรรมบริการ และร้านอาหาร
ทั้งนี้สัดส่วนของแรงงานต่างชาติในอิสราเอลได้รับอนุญาตให้ทำงาน 4 สาขา ได้แก่
-ภาคเกษตร แรงงานไทยถือครองตำแหน่งงานในสาขานี้มากที่สุดถึงกว่าร้อยละ 95
- ภาคบริการและร้านอาหาร ในอิสราเอล คนไทยครองตำแหน่งเป็น Chef และ Cook มากที่สุดถึงร้อยละ 95 ในร้านอาหารไทย จีน และญี่ปุ่น
- ภาคก่อสร้าง แรงงานชาติโรมาเนีย จีน และตุรกีถือครองตำแหน่งมากที่สุด
-ภาคดูแลคนชราและผู้พิการ แรงงานฟิลิปปินส์ถือครองตำแหน่ง ร้อยละ 95
สำหรับอัตราค่าแจ้งขั้นต่ำของแรงงานไทยในอิสราเอลภาคการเกษตรนั้น จากข้อมูลของกรมแรงงาน ระบุไว้ดังนี้
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำท้องถิ่น
- รายเดือน 5300 เชคเกล ( 48,676 บาท) ต่อการทำงานเต็มเวาลา 186 ชั่วโมง
- รายชั่วโมง 29.12 เชตเกล ( 267.44 บาท)
- วันละ 244.62 เชคเกล (2,246.63 บาท ) สำหรับการทำงาน 5 วัน/สัปดาห์
- วันละ 212 เชคเกล (1,947.05 บาท )สำหรับการทำงาน 6 วัน / สัปดาห์
สวัสดิการ
- หักค่าที่พัก ค่าสาะารณูปโภคอื่นๆรวทชมไม่เกิด 540.10 เชคเกล/ เดือน (4,960.38 บาท )
- หักค่าประกันสุขภาพรวมไม่เกิน 136.24 เชคเกล/เดือน (1,251.25 บาท )
เหตุใดอิสราเอลจึงต้องการแรงงานต่างชาติ
เนื่องจากประเทศ อิสราเอลไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยรัฐบาลอิสราเอลลงทุนอย่างสูงในด้านการศึกษาของประชาชน ทำให้อิสราเอลเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแรงงานที่มีการศึกษาสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก แรงงานไร้ฝีมือในอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นชาวยิวโพ้นทะเล จากรัสเซีย และยุโรปตะวันออกที่เข้าไปตั้งรกรากในอิสราเอล รวมทั้งแรงงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานในประเทศอิสราเอล อาทิ แรงงานโรมาเนีย ตรุกี ไทย จีน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
แรงงานไทยได้เริ่มเข้าไปทำงานในอิสราเอลตั้งแต่ปี 2523 งานที่ทำในระยะแรกได้แก่ พ่อครัว แม่ครัว และช่างฝีมือต่างๆ อาทิ ช่างเชื่อม ช่างแอร์ ช่างซ่อมรถยนต์
ในปี 2527 จำนวนแรงงานไทยได้เพิ่มขึ้นเป็นพันคน โดยเข้าไปทำงานในรูปอาสาสมัครตาม คิบบุตส์ และโมชาฟ ในปี 2537 หลังจากปิดพรมแดนอิสราเอลกับเขตยึดครองเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้ายจากกลุ่มหัวรุนแรง
ทางการอิสราเอลได้อนุญาตให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติในภาคก่อสร้าง และภาคเกษตร คนไทยจึงเริ่มเข้าไปทำงานในอิสราเอลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยทำงานในชุมชนอิสราเอลที่เรียกว่า คิบบุตส์ ( Kibbutz ) จำนวน 267 แห่ง และในชุมชนอิสราเอลที่เรียกว่า โมซาฟ ( Moshav ) หมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร ปกครองตนเองภายในชุมชนแบบประชาธิปไตย จำนวน 448 แห่งทั่วประเทศ
ข้อมูลจาก : ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต กรุงเทลอาวีฟ, กรมการจัดหางาน
ภาพจาก : AFP
ที่มาข้อมูล : -