TNN ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์

TNN

TNN Exclusive

ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์

ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์

โครงการ “แลนด์บริดจ์” ถือเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ 1 ล้านล้านบาทที่นายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” นำไปโรดโชว์มาแล้วทุกทวีป ภายใต้ความมั่นใจว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการพลิกโฉมการค้าโลก เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามันแล้ว “แลนด์บริดจ์” ยังเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน”

ความพยายามในการเดินหน้าพลิกโฉมการค้าโลก ของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” เห็นได้อย่างชัดเจน ผ่านการนำเสนอเมกะโปรเจกต์ “ แลนด์บริดจ์” (Landbridge) ซึ่งว่ากันว่า จะเป็นแม่เหล็กใหม่ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก หากโครงการนี้สำเร็จ คาดว่า จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล เกิดการลงทุนและจ้างงานตามมาอีกจำนวนมาก สิ่งสำคัญคือประเทศไทย กลายเป็นจุดผ่านเส้นทางการเดินเรือขนส่งที่สำคัญของโลก  โดย นายกรัฐมนตรี ประกาศกลางเวทีประชุมเอเปค 2023 ก่อนหน้านี้ ว่า ประเทศไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากทุกชาติและทุกรูปแบบ โดยชู ”แลนด์บริดจ์” เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับต่างชาติที่หาจากที่ไหนไม่ได้


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ข้อมูลของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้วิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจทางบกเส้นทางใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน พบว่า พื้นที่ตั้งมีความได้เปรียบเทียบทั้งต้นทางและปลายทาง  โดยเฉพาะสินค้าไทยจะได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการขนส่ง ช่วยให้ไทยมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกดีมากน และแม้ท่าเรือจะมีบทบาทหลักเป็นประตูการค้า แต่งบประมาณมากกว่า 2 ใน 3 ของการลงทุนทั้งหมด จะเป็นการพัฒนา เส้นทางทางบก เช่น ทางหลวงพิเศษ  ทางรถไฟ เพื่อเชื่อมท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล 


ขณะที่ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ข้อมูลว่า โครงการแลนด์บริดจ์ มีความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และคาดว่าจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้ เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในระยะ 10 ปี จากเดิมร้อยละ 2 สิ่งสำคัญคือการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังศึกษารายละเอียดและเตรียมออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ช่วงกลางปี 2567 และจะเริ่มประมูลงานลงทุนรูปแบบ PPP ในเดือน เม.ย. ปี 2568 คาดว่าจะเริ่มใช้เส้นทางใหม่แลนด์บริดจ์ ช่วงปี 2572 เป็นต้นไป


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ด้าน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แจกแจงให้เห็นภาพว่า ทำไมโครงการแลนด์บริดจ์จึงสำคัญ? 

- เมกะโปรเจกต์นี้มีมูลค่าการลงทุน 1 ล้านล้านบาท 

- รูปแบบการพัฒนาโครงการ ลักษณะเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)

- เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและการค้าของเอเชีย

- ช่วยลดระยะทางการขนส่ง ซึ่งเป็นการร่นระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งแล้ว 

- แลนด์บริดจ์ ก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่หลังท่าด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง และกิจกรรมเชิงพาณิชย์อื่นๆ

- เกิดการจ้างงานในพื้นที่ จำนวน 280,000 ตำแหน่ง 

- เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ที่จะเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ครอบคลุมจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช 

- ยกระดับอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง 

- ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ 

- เป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศไทยและภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน 

- เชื่อมต่อเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ ระดับภูมิภาค 

- เป็นเส้นทางรองรับสินค้าเส้นทางจากประเทศจีน ลาว อินเดีย ไปยังยุโรป หรือสินค้าจากยุโรปมายังภูมิภาคอาเซียน


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ในแง่ของความสนใจของต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้ประมวลความเห็นหรือปฏิกิริยาจากประเทศต่าง ๆ มีท่าทีต่อโครงการแลนด์บริดจ์ของไทย  โดย สิงคโปร์ เห็นว่า แลนด์บริดจ์จะช่วยลดเวลาการขนส่งได้ไม่มากนัก เนื่องจาก มีปัจจัยอื่นที่มาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากปัจจัยด้านเวลา ขณะที่ มาเลเซียเห็นว่า โครงการนั้เป็นเพียงข้อเสนอ  และเห็นว่าประเทศไทยมีสิทธิที่จะ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมาเลเซียเองก็มีโครงการเชื่อมช่องแคบมะละกา หากโครงการแลนด์บริดจ์ เกิดขึ้นจริง ไม่ได้ทำให้มาเลเซียมีความกังวล แต่ก็จะติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง 


ส่วนประเทศจีนมีความสนใจอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและจะพิจารณาเรื่องเทคนิคและเกณฑ์การคัดเลือกนักลงทุน โดยจีนให้หน่วยงานระดับชาติ ได้แก่ National Development ขอข้อมูลดังกล่าวจากประเทศไทย เพื่อไปศึกษาเพิ่มเติม เช่นเดียวกับ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้เจรจากับบริษัทขนาดใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความสนใจจะสร้างโรงเก็บชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดใหญ่ในโครงการแลนด์บริดจ์  ล่าสุดมีสัญญาณดีจากการประชุม World Economic Forum 2024 ที่ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส หลัง นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมกิจกรรม Thailand Landbridge : Connecting ASEAN with the World และได้หารือกับนาย Sultan Ahmed bin Sulayem ประธานกลุ่มบริษัท และผู้บริหารของบริษัท ดูไบ พอร์ต เวิลด์ (DP World) ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์การขนส่งสินค้า การดำเนินงานท่าเรือ ซึ่งเป็น Operator ของท่าเรือแหลมฉบัง ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนจะมาลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ พร้อมจะเดินทางมาหารือที่ประเทศไทย และจะเดินทางไปสำรวจสถานที่จริงด้วย 


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


ปักธง “แลนด์บริดจ์” นายกฯ ดีลต่างชาติร่วมลงทุนเมกะโปรเจกต์


โครงการแลนด์บริดจ์ แบ่งเป็น 4 เฟส ประกอบด้วย เฟสแรกวงเงินลงทุนสูงสุด ประมาณการ 522,844.08 ล้านบาท  เฟส 2 ประมาณการลงทุนโครงการ 164,671.83 ล้านบาท  เฟส 3 ประมาณการลงทุน 228,512.79 ล้านบาท  เฟส 4 ประมาณการลงทุนโครงการ 85,177.77 ล้านบาท  แน่นอนว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่ จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 22- 23 ม.ค.2567 นี้ โครงการ  “Land Bridge”  จะเป็นหัวข้อหลักในการพิจารณาด้วย


เรียบเรียงโดย  ปุลญดา  บัวคณิศร 

ข่าวแนะนำ