กรุงเทพฯ อาจเป็นเมือง “โลกันตร์” เสี่ยงร้อนเกือบทั้งปีถึง 290 วัน ภายในปี 2050

กราฟนี้เป็นข้อมูลจากธนาคารโลก ที่คาดการณ์ถึงวันที่จะมีอากาศร้อนเกิน 30.5 องศาเซลเซียส ใน 1 ปี ในแต่ละเมืองทั่วโลก โดยพบว่า

แต่ละปีที่ผ่านมา ไปจำนวนวันที่อากาศร้อนเกิน 30.5 องศาฯ ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อถึงปี 2050 กรุงเทพมหานคร จะมีวันที่อากาศร้อนถึง 290 วันต่อปี

กรุงเทพฯ อาจเป็นเมือง “โลกันตร์” เสี่ยงร้อนเกือบทั้งปีถึง 290 วัน ภายในปี 2050

สรุปข่าว

ตามข้อมูลจากธนาคารโลก กรุงเทพฯ จะเผชิญอากาศร้อนเกิน 30.5°C ถึง 290 วันต่อปีภายในปี 2050 น้อยกว่ากัวลาลัมเปอร์ (337 วัน) และสิงคโปร์ (326 วัน) แต่มากกว่าโฮจิมินห์ (261 วัน) จาการ์ตา (234 วัน) ธากา (213 วัน) และมะนิลา (154 วัน)

ส่วนกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียจะมีมากถึง 337 วันต่อปี สิงคโปร์ 326 วัน ซึ่งถือว่าเยอะกว่ากรุงเทพฯ มาก 

ส่วนนครโฮจิมินต์ของเวียดนาม จะอยู่ที่ 261 วัน ตามด้วยกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย 234 วัน กรุงธากาของบังกลาเทศ 213 วัน และกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ 154 วัน

หากอากาศร้อนเพิ่มขึ้นถึงขนาดนี้ กรุงเทพฯ คาดการณ์ว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น 1 องศาฯ ถึง 2,300 ราย/ปี และ คน กทม. ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น 17,000 ล้าน/ต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 400–450 บาท/ครัวเรือน /เดือน

ปี 2050 ผู้คนอาจทำงานกลางแจ้งไม่ได้อีกต่อไป โดยข้อมูล ปี 2019 พบว่ามีแรงงาน 1.3 ล้านคน ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง อย่างน้อยๆ 1 วันต่อสัปดาห์ แต่ความร้อนที่รุนแรง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้พวกเขาทำงานกลางแจ้งไม่ได้อีกต่อไป ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานลดลง 3.4 % เสียค่าจ้างแรงงานสูงถึง 44,700 ล้านบาท/ปี กระทบต่อห่วงโซ่ธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมระดับประเทศ

ที่มาข้อมูล : ธนาคารโลก

ที่มารูปภาพ : Freepik

avatar

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล