

สรุปข่าว
แม้เหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เนื่องจากโลกของเรามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นพอที่จะเผาผลาญวัตถุแปลกปลอมที่พุ่งชนโลกได้ ทำให้วัตถุแปลกปลอมขนาดเล็กถูกเผาผลาญเสียจนเกลี้ยงก่อนจะตกถึงพื้นโลก ในขณะเดียวกันวัตถุแปลกปลอมขนาดใหญ่จะถูกเผาผลาญจนมีขนาดเล็กทำให้เกิดความเสียหายน้อยเมื่อตกถึงพื้นโลก หรืออาจไม่สร้างความเสียหายเลย แต่เหตุการณ์ในปี 2013 ที่มีอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 66 ฟุต (20 เมตร) พุ่งชนพื้นผิวโลก สร้างความเสียหายแก่อาคาร 7,200 หลัง และมีผู้บาดเจ็บ 1,500 คนในเมืองเชเลียบินสค์ทางตอนใต้ของรัสเซีย ก็ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่อาจละเลยได้และต้องมีหน่วยงานเพื่อเฝ้าระวังเรื่องนี้โดยเฉพาะ
เมื่อต้นเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา นาซาได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ชื่อ 2022 AE1 มีอันดับสูงสุดในระดับปาแลร์โมที่เคยเห็นในรอบกว่าทศวรรษ โดยอยู่ที่ -0.66 (มาตราส่วนปาแลร์โมคือมาตราส่วนลอการิทึม ใช้โดยนักดาราศาสตร์ในการให้คะแนนระดับความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบของวัตถุใกล้โลก) โดยแนวโน้มความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ชนโลกอยู่ในระดับเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งในเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ด้วยข้อมูลที่มากขึ้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณวงโคจรของ 2022 AE1 ได้แม่นยำมากขึ้น (ยังมีคลาดเคลื่อนอยู่บ้างจากการสังเกตการณ์และการคำนวณ) พบว่าวีถีการโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่พุ่งชนโลกดังที่สื่อบางสำนักประโคมข่าว ทำให้มันถูกถอดออกจากดาวเคราะห์น้อยอันตรายเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามรายงานล่าสุด
นอกจากนี้เรายัง DART (Double Asteroid Redirection Test) ภารกิจทดสอบการเปลี่ยนเส้นทางดาวเคราะห์น้อยคู่เป็นภารกิจในอวกาศของนาซา ที่มุ่งทดสอบวิธีการป้องกันดาวเคราะห์จากวัตถุที่อยู่ใกล้โลก ในเดือนกันยายน 2022 ในปัจจุบันนี้มันได้ถูกปล่อยตัวเพื่อไปประจำตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนาซายังได้ก่อตั้งสำนักงานประสานงานปกป้องโลก (Planetary Defense Coordination Office) ขึ้นในปี 2016 ฉะนั้นหากมีดาวเคราะห์น้อยที่มีวิถีการโคจรพุ่งเข้าหาโลกจริง เราจะสามารถรับมือกับมันได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ข้อมูลจาก earthsky.org
ภาพจาก 9866112/pixabay
ที่มาข้อมูล : -