จีนพบเชื้อ "ไวรัสตัวใหม่" จากค้างคาว ติดสู่คนได้เหมือนโควิด-19

วันนี้ (21 กุมภาพันธ์) สำนักข่าวเซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ (South China Morning Post) เผยแพร่รายงานที่อ้างถึงทีมนักวิทยาศาสตร์จากจีนที่นำโดย “สือ เจิ้งลี่” (Shi Zhengli) หรือที่รู้จักในชื่อ “Batwoman” นักไวรัสวิทยาจากสถาบันไวรัสอู่ฮั่น ว่าได้พบ “เชื้อโคโรนาไวรัสชนิดใหม่” ที่มาจาก “ค้างคาว” และสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้เช่นเดียวกับเชื้อโควิด-19


ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ว่า HKU5 เป็นไวรัสจากสกุลย่อยของกลุ่ม merbecovirus และ กลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (Mers) ด้วย ซึ่งไวรัสชนิดใหม่ตรวจพบเจอครั้งแรกในค้างคาวสายพันธ์ุ Japanese pipistrelle bat ที่อาศัยอยู่ในฮ่องกง แม้ยังไม่ทราบต้นกำเนิดของเชื้อในค้างคาวที่ชัดเจน แต่การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในค้างคาวจะสามารถแพร่ไปสู่คนได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่าเชื้อ “โฮสต์เริ่มต้น” ก่อนแพร่ระบาดในร่างกายมนุษย์

จีนพบเชื้อ "ไวรัสตัวใหม่" จากค้างคาว ติดสู่คนได้เหมือนโควิด-19

สรุปข่าว

จีนพบโคโรนาไวรัสตัวใหม่จากค้างคาวที่อาศัยในฮ่องกง สามารถติดสู่คนได้และใช้ตัวรับไวรัสในร่างกายมนุษย์แบบเดียวกับโควิด-19

นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดใหม่ยังสามารถจับกับแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE2) ซึ่งเป็นตัวรับ (human receptor) แบบเดียวกับที่เชื้อ Sars-CoV-2 หรือ โควิด-19 ใช้เพื่อแพร่สู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ด้วย


ทั้งนี้ สถาบันไวรัสอู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ย์ ยังตกอยู่ภายใต้คำวิพากย์วิจารณ์ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เชื้อโควิด-19 หลุดลอดออกมาและแพร่กระจายไปทั่วโลก แต่สถาบันอู่ฮั่นรวมไปถึง สือ เจิ้งลี่ ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบาดของโควิด-19 แต่อย่างใด

ที่มาข้อมูล : South China Morning Post

ที่มารูปภาพ : Reuters