ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์วิกฤติน้ำท่วม

ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์วิกฤติน้ำท่วม

สรุปข่าว

ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส หรือ ASPS  ระบุว่า ความกังวลจะเกิดน้ำจะท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และเกิด Downside ต่อการปรับลด GDP Growth และกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ Consensus ส่วนใหญ่คาดจะไม่เกิด Downside   ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยสะท้อนจากสัปดาห์ที่แล้ว (wtd)  พบว่า SET Index ติดลบราว 1.83% หรือลงมาราว 40 จุด  ฝ่ายวิจัย ASPS คาดตลาดหุ้นรับข่าวร้ายไประดับนึงแล้ว


นอกจากนี้ประเมินว่าประเด็นน้ำท่วมต้องติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อน  จำนวนพายุที่จะเข้ามา ?? อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าปี 2554 จะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือกระทบต่อเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนเหมือนในอดีต เพราะพิจารณาจากข้อมูลสำคัญ คือ  


1.พื้นที่น้ำท่วมขังในปี 2564 น้อยกว่าหรือห่างไกลสมัยวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 มาก เห็นได้จากในรูป  (สีฟ้าคือพื้นที่น้ำท่วม) พบว่าในช่วงปลายเดือน ก.ย.64 มีพื่นที่ทั่วประเทศน้ำท่วมขัง 2.5 ล้านไร่ เทียบกับ ก.ย.54 มีพื่นที่ทั่วประเทศน้ำท่วมขัง 25 ล้านไร่ หรือห่างไกล 10 เท่า


2.บริษัทจดทะเบียนในตลาดเกือบทั้งหมดมีการป้องกันหรือแผนรองรับ หลังจากเคยเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ อาทิ  นิคมอุตสหกรรม  มีการสร้างคูคั้นกั้นนน้ำ ขยายท่อ,  ยกระดับพื้นที่ดิน  ฯลฯ



ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์วิกฤตน้ำท่วม


ฝ่ายวิจัย ASPS ทำการศึกษาผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไทยปี 2554  จากสถิติในอดีตรอบนั้นระยะเวลาเริ่มตั้งแต่  25 ก.ค.2554 - 16 ม.ค. 2555 ผลกระทบคือผลต่อเศรษฐกิจ 1. มูลค่าเศรษฐกิจงวด 4Q54 ลดลงราว 1.33 แสนล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า กดดันให้ Real GDP งวด 4Q54 หดตัว-6.3% qoq และ  -4.1% yoy   โดยข้อสังเกตุคือ GDP ติดลบ yoy เพียง  1 ไตรมาส (หดตัวทุกองค์ประกอบ C I G X M) และพลิกกลับบมาเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เป็นต้นไป


2. GDP ฝั่งด้านการผลิต  หรือรายอุตสาหกรรม  พบว่าในงวด 4Q54  ภาคเศรษฐกิจที่หดตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบ Covid (ดังตาราง ตัวเลขสีแดง) คือ  ภาคการผลิต ,ภาคการขนส่ง  ฯลฯ   


ASPS ให้น้ำหนักไปที่ภาคเศรษฐกิจที่ขยายตัวเป็น + อาทิ กลุ่มการเงิน (หุ้นกลุ่ม Bank อาทิ KBANK , SCB) , กลุ่มบันเทิง(MAJOR), กลุ่มสื่อสาร (ADVANC ,DTAC)   โดยประเมินว่าในรอบนี้ปี 2564 คาดจะคล้ายในอดีต คือกลุ่มเหล่านี้จะยังแข็งแกร่งต่อ


ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์วิกฤตน้ำท่วม

ส่วนมาตรการทางการเงินและการคลังที่รัฐบาลออกมาในปี 2554  


นโยบายการเงิน: กนง.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายช่วงเดือน พ.ย. 2554 ลงจาก 3.5% เป็น 3.25% และ ม.ค. 2555 ลดจาก 3.25% เป็น 3.0%  ส่วนในรอบนี้ ASPS ประเมินว่าหากสถานการณ์ไม่บานปลาย คาด กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่เดิมที่ 0.5% เพราะว่าการปรับลดมีข้อจำกัด คือ ใกล้แตะ 0% แตกต่างจากปี 2554 ที่มีช่องว่างให้ลงได้เยอะ


นโยบายการคลัง: ช่วงแรก รัฐมีมาตรการเยียวยา และบรรเทาผลกระทบ วงเงินราว 1.48 แสนล้านบาท (0.1% ของ GDP ปี 2554) แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายจึงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม คือโครงการรถคันแรก ระยะเวลาตั้งแต่ ก.ย. 2554 – ธ.ค. 2555 ใช้วงเงิน 9.2 หมื่นล้านบาท (0.7% ของ GDP ปี 2554)


ผลต่อตลาดหุ้น : ช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554 พบว่า ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงไปถึง -24.5 % แล้วใช้เวลาฟื้นกลับมาถึง 5 เดือน   โดยอาจจะสร้าง Sentiment เชิงลบต่อ SET index และหุ้นที่ได้รับผลกระทบ อาทิ หุ้นที่มีโรงงานหรือกิจการส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม อาทิ กลุ่มนิคม, กลุ่มอิเล็กฯ, กลุ่มยานยนต์ เป็นต้น 


ซึ่งนักลงทุนต้องคอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงพอร์ตช่วงสั้นได้ทันเวลา   แต่ในทางตรงข้าม คาดจะบวกกับ หุ้นที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค อย่าง กลุ่มค้าปลีกหรืออาหาร แนะนำ CPALL, BJC, CRC, TU ได้แรงหนุนจากความต้องการสินค้าจำเป็นในการยังชีพมากขึ้น  หุ้นที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านเรือนและสถานที่ หลังน้ำท่วม แนะนำ TASCO (ซ่อมแซมถนน), HMPRO, GLOBAL, DCC, DRT (ซ่อมแซมบ้านเรือน)    


ส่องหุ้นได้-เสียประโยชน์วิกฤตน้ำท่วม



 

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

หุ้นน้ำท่วม
อุทกภัยดอกเบี้ยน้ำท่วมปี54กนง.set
บล.เอเซียพลัส