“ภูเขาน้ำแข็งใหญ่ที่สุดในโลก” กำลังหมุนวนแบบลูกข่าง ไม่ยอมละลายตามโลกเดือด | Exclusive
A23a ภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา ได้สร้างความประหลาดใจ เพราะแทนที่จะละลายเหมือนภูเขาน้ำแข็งทั่ว ๆ ไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ แต่กลับกลายเป็น “หมุนวน” เป็นลูกข่างอยู่ที่เดิม และมีแนวโน้มจะหมุนต่อไปเรื่อย ๆ จนอาจเรียกว่าเป็น “ลูกข่างภูเขาน้ำแข็ง” ก็ว่าได้
“มหาสมุทร” มีความลี้ลับมากมายที่องค์ความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์กายภาพ นิเวศวิทยา อุตุนิยมวิทยา หรือภูมิอากาศวิทยา ยังไขคำตอบได้ไม่ทั้งหมด
และล่าสุด ข่าวใหญ่ในวงการ คือ A23a ภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา ได้สร้างความประหลาดใจ เพราะแทนที่จะละลายเหมือนภูเขาน้ำแข็งทั่ว ๆ ไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ แต่กลับกลายเป็น “หมุนวน” เป็นลูกข่างอยู่ที่เดิม และมีแนวโน้มจะหมุนต่อไปเรื่อย ๆ จนอาจเรียกว่าเป็น “ลูกข่างภูเขาน้ำแข็ง” ก็ว่าได้
เกิดอะไรขึ้น ติดตามไปพร้อมกันในบทความนี้
ลูกข่างภูเขาน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องแปลก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ A23a ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในวงการภูมิอากาศวิทยาเรียกว่า “เสาเทย์เลอร์ (Taylor Column)” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ค้นพบโดย Sir Geoffrey Ingram Taylor นักวิชาการทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หมายถึง กระแสน้ำในมหาสมุทรเมื่อไหลผ่านสิ่งกีดขวางประเภทของแข็งหรือกึ่งของแข็ง จะไม่ได้ไหลผ่านเป็นทางเดียว แต่จะเกิดสองกระแสธารขึ้น โดยไหลทวนซึ่งกันและกัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเกิดกระแสน้ำวนในแกนบนและล่างของสิ่งกีดขวาง ทำให้สิ่งนี้หมุนวนอยู่เป็นลูกข่าง ไม่มีทางไหลไปไหนได้
ศาสตราจารย์ ไมค์ เมเรดิธ แห่ง British Antarctic Survey ให้ทรรศนะว่า "มหาสมุทรมีสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้นได้เสมอ แต่สิ่งที่เห็นนี้น่ารักที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมา… เสาเทย์เลอร์เกิดขึ้นในอากาศก็ได้ ดังที่เห็นได้จากกลุ่มเมฆที่วน ๆ อยู่รอบเทือกเขาสูง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในขนาดเล็กที่ห้องทดลอง หรือขนาดใหญ่แบบภูเขาน้ำแข็งนี้"
แต่ที่น่าสนใจคือ A23a เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดเท่ากับเขตการปกครองเกรเทอร์ลอนดอน หรือใหญ่พอ ๆ กับช่องแคบอังกฤษ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ภูมิอากาศวิทยาแล้ว ถือว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่กระแสน้ำสวนทางจะสามารถหมุนสิ่งนี้ หรือก็คือ เสาเทเลอร์จะไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยกับกรณีที่ภูเขาน้ำแข็งใหญ่มโหฬารถึงเพียงนี้
กระนั้น ยังมีสิ่งที่ทำให้นักภูมิอากาศวิทยาประหลาดใจได้มากกว่านั้น
สะเทือนวงการภูมิอากาศวิทยา
โดยปกติ แม้จะเกิดปรากฏการณ์เสาเทย์เลอร์ แต่ภูเขาน้ำแข็งก็จะละลายไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่าจะละลายช้าหรือเร็ว เพราะกระแสน้ำที่พัดผ่านนั่นคือ Antarctic Circumpolar Current (ACC) ซึ่งเป็นกระแสน้ำอุ่นที่พัดวนรอบบริเวณเหนือเส้นละติจูด ทรอปิก ออฟ แคนเซอร์ (Tropic of Cancer) ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศที่อุ่นไปจนถึงร้อนในซีกโลกเหนือ
แน่นอน เมื่อเป็นแบบนี้ ตามปกติ A23a ก็อาจจะค่อย ๆ ละลายลงไปที่ละน้อย แต่ในความเป็นจริง ภูเขาน้ำแข็งนี้ยังคงอยู่เช่นเดิม เพียงแต่หมุนเป็นลูกข่างเท่านั้น
ศาสตราจารย์ ไมค์ เมเรดิธ ได้ทำการทดลองวางทุนขนาดใหญ่ไว้ในเขต Pirie Bank ทางตะวันออกของแอนตาร์กติกา เพื่อให้เกิดเสาเทย์เลอร์ ปรากฏว่า ระยะเวลาผ่านไปกว่า 4 ปี ทุ่นนั้นก็ยังคงหมุนเป็นลูกข่างเช่นเดิม และมีแนวโน้มจะหมุนไปเรื่อย ๆ
หมายความว่า A23a เป็นกรณีศึกษาที่ “แหวกแนว” และย้อนแย้ง คำอธิบายทางภูมิอากาศวิทยาอย่างถึงที่สุด
เรื่องนี้ อาจจะสมกับที่ มาร์ค แบรนดอน นักวิชาการสมุทรศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญขั้วโลกศึกษากล่าวไว้ว่า "A23a เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ไม่ยอมตาย"
A23a เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบอีกครั้งของความสำคัญของการทำความเข้าใจรูปร่างของพื้นทะเล ภูเขาใต้ทะเล หุบเขา และเนินลาดมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อทิศทาง การควบรวมกันของกระแสน้ำ และการกระจายของสารอาหารที่ขับเคลื่อนวิถีทางทางชีวภาพในมหาสมุทร
อีกทั้ง อิทธิพลนี้ยังขยายไปถึงระบบภูมิอากาศด้วย นั่นคือ ทิศทางกระแสของน้ำจำนวนมากที่ช่วยกระจายพลังงานความร้อนไปทั่วโลก ความเป็นไปของ A23a สามารถอธิบายได้ก็จริง แต่นั่นก้ไม่ได้หมายความว่ากรณีของพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในโลกจะเป็นเช่นนี้
ปัจจุบัน มีการสำรวจพื้นมหาสมุทรของโลกได้ตามมาตรฐานสมัยใหม่ที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น
Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]
แหล่งอ้างอิง
ข่าวแนะนำ