กินยาคลายกล้ามเนื้อบ่อย เสี่ยงสมองเสื่อม ?
ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ แวะร้านขายยา ซื้อยาคล้ายกล้ามเนื้อกินหน่อยเดี๋ยวก็หาย ! ใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ต้องระวัง เพราะมีข้อมูลในโซเชียลแชร์ว่า กินยาคลายกล้ามเนื้อบ่อย ๆ เสี่ยงสมองเสื่อมได้ ข่าวนี้จริงไหม ? TNNExclusive จะพาไปหาคำตอบ
ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า เป็นเรื่องจริง ! ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก Anticholinergic ส่งผลโดยตรงเรื่องความจำ หรือการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ผศ.นพ.พิสนธิ์ ให้ข้อมูลว่า "มีผลวิจัยในประชากร 280,000 คน ที่ประเทศฟินแลนด์ พบว่า การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพิ่มความเสี่ยงการเป็นอัลไซเมอร์ ถึง 4 % และหากใช้ปริมาณต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น"
หากปวดกล้ามเนื้อต้องทำอย่างไร ?
คุณหมอแนะนำ หากมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อ ไม่ควรขอซื้อยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ผู้ป่วยจะต้องบอกอาการที่เป็นกับเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและได้รับการจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการป่วย โดยส่วนมากจะเริ่มต้นการรักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอก ขณะที่ยากินเพื่อบรรเทาอาการควรเริ่มจากการใช้ยาพาราเซตามอล ซึ่งออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ หากอาการไม่ดีขึ้นค่อยเพิ่มปริมาณยา หรือเปลี่ยนยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น วิธีการนี้จะช่วยลดความเสี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็นและเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
เขียนข่าว
เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ
ผู้สื่อข่าว คอลัมน์ ข่าวนี้จริงไหม ?
ภาพจาก
getty images
ช่างภาพTNN ช่อง16
ข่าวแนะนำ