TNN ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?

TNN

TNN Exclusive

ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?

ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?

อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นนิ่ว ! มีใครเคยได้ยินคำเตือนนี้กันบ้าง เป็นข้อมูลความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ทีมงานข่าวนี้จริงไหม tnnthailand จะพาไปคลายข้อสงสัยกับ นพ.กันตพงศ์ ไทรนนท์ หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นพ.กันตพงศ์  อธิบายว่า การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะมีหลายปัจจัย หนึ่งในนั้น คือ มีน้ำปัสสาวะเหลือคงค้างในกระเพาะปัสสาวะปริมาณมากในระดับหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกระเพาะปัสสาวะส่วนล่างมีความผิดปกติ จึงทำให้ปัสสาวะค้างอยู่นาน เช่น คนไข้เป็นต่อมลูกหมากโต ไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ทั้งหมด หรือเป็นโรคทางระบบประสาทบางอย่าง ที่ทำให้การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเสียไป ทำให้ปัสสาวะออกได้ไม่หมด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ส่วนในกรณีคนทั่วไปการอั้นปัสสาวะไม่ได้ทำให้เป็นนิ่ว


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?


"แต่คุณหมอ ย้ำว่า การอั้นปัสสาวะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นำไปสู่กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้สูงอายุ"



นพ.กันตพงศ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจเป็นปัจจัยนำไปสู่การเกิดโรคนิ่วได้ เช่น การดื่มน้ำน้อย การกินอาหารรสเค็มจัดโซเดียมสูง จะส่งผลต่อการขับแคลเซียมในน้ำปัสสาวะ ทำให้จับตัวเป็นก้อนนิ่วได้ง่าย


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?

  

การกินโปรตีน โดยย้ำว่าเป็นการกินในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งในคนปกติร่างกายต้องการโปรตีนประมาณ 1-1.5 เท่าของน้ำหนักตัวก็เพียงพอ และสุดท้ายคือ การกินวิตามินซี มากกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดนิ่วได้เช่นเดียวกัน


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?


" นิ่วในกระเพาะปัสสาวะรักษาได้ "


การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว โดยมีแนวทางในการรักษา คือ 


การทำให้นิ่วหลุดมาเองตามธรรมชาติ ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก โดยจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?


การสลายก้อนนิ่วด้วยคลื่นกระแทก เป็นการใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่วจนก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และหลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?


การใช้กล้องส่องท่อปัสสาวะ เพื่อขบ กรอนิ่ว หรือคีบเอานิ่วออก ให้นิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้หลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดเล็ก สามารถสอดกล้องเข้าไปตามท่อปัสสาวะได้เลย และไม่ทำให้มีแผลผ่าตัด


และการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ เพื่อเอานิ่วออกมา เหมาะสำหรับก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?


ข่าวนี้จริงไหม…อั้นปัสสาวะบ่อย ระวังเป็นโรคนิ่ว ?



ผู้เขียนข่าว

เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ

ผู้สื่อข่าวสายสังคม คอลัมน์ ข่าวนี้จริงไหม?


 

ที่มาภาพนิ่ง

ช่างภาพTNN ถ่าย

ข่าวแนะนำ