

สรุปข่าว
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/ 2564 ลดลง 0.3 % จากการขยายตัว 7.6 % ในไตรมาสที่ 2/2564 ทั้งนี้ เป็นผลจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และกระจายเป็นวงกว้างของโรค COVID-19 ซึ่งกระทบต่อทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิต
ของประชาชน ด้านการผลิต การผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.0 ขณะที่ภาคบริการขยายตัว 0.2 % ชะลอลงค่อนข้างมากจากไตร มาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรขยายตัว 4.3 % ตามผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา และมันสำปะหลัง เป็นต้น ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน หดตัว 3.2 % และการลงทุนหดตัว 0.4 %
ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัว 2.5% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 12.3 % และ 27.8 % เทียบกับการขยายตัว 27.7 % และ 30.3% ในไตรมาสก่อนหน้าตามลำดับ หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐ กิจไทยในไตรมาสที่ 3/2564 ลดลง 1.1% (QoQ SA)
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ลดลง 3.2 % เทียบกับการขยายตัว 4.8 % ในไตรมาสที่ 2/2564 เป็นการลดลงเกือบทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าคงทนลดลง 14.1 %กึ่งคงทน 8.3% และการบริการสุทธิ ลดลง 4.9 %
ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัว 1.3 % จากการใช้จ่ายในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัว 2.5 % ต่อเนื่องจากการขยายตัว 1.0 % ในไตรมาสที่ 2/2564
โดยค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 1.0 % การโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัว 47.1 % เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 10.9% ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 3.6 % การลงทุนรวม ลดลง 0.4 % เทียบกับการขยายตัว 7.6 % ในไตรมาสที่ 2/2564 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 2.6 % ชะลอลงจากที่ขยายตัว 9.2 % ในไตรมาสที่ 2/2564 เป็นผลมาจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัว 3.7 % จากที่ขยายตัว 12.2 % ในไตรมาสก่อนหน้า
ขณะที่การก่อสร้างลดลง 0.5 % ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลง 6.0 % เทียบกับที่ขยายตัว 4.1 % ในไตรมาสก่อนหน้า จากการลงทุนของรัฐบาลที่ลดลงเป็นสำคัญส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจ าปี มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 211.8 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำ คัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็ก ทรอนิกส์และแผงวงจร และยางพารา
สำหรับสินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวสาร มันสำปะหลัง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางสังเคราะห์ และเครื่องใช้ในครัวเรือน
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจ าปี ขาดดุล 74.9 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 304.7 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 379.6
พันล้านบาท
ทั้งนี้ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.2% ขณะที่การบริโภค ขยายตัว 1.2% ส่งออก 16.8% เงินเฟ้อ 1.2% และดุลบัญชีเดินสะพัด ติดลบ 2.5%
ขณะที่ปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ เนื่องจาก 3.5-4.5% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 4% คาดว่าการบริโภค ขยายตัว 4.3% การลงทุนเอกชน 4.2% การลงทุนภาครัฐ 4.6% และการส่งออก 4.9% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 5 ล้านคน
ที่มา : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ภาพประกอบข่าว : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ที่มาข้อมูล : -