TNN ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

TNN

TNN Exclusive

ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

การเดินหน้าโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน นอกจากเป็นการเชื่อมระบบการขนส่งที่สำคัญของประเทศทั้ง สนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจแห่งอนาคตอย่างอีอีซีแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งท่องเที่ยว-อุตสาหกรรม-การพัฒนาเมือง-การจ้างงานในอนาคต

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี  ที่รัฐหมายมั่นปั้นมือให้เป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อสร้างประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การพัฒนาเมือง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

โครงการดังกล่าว จะเข้ามาช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มการจ้างงาน คุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน ในขณะเดียวกันยังส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม และลดอุบัติเหตุบนถนน เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีระบบควบคุมที่มีความปลอดภัยสูง ทำให้การเกิดอุบัติเหตุอยู่ในอัตราที่น้อยมาก ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

สำหรับแนวเส้นทางการเดินรถใช้แนวเส้นทางเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) เชื่อมเส้นทางด้วยส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี

ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

หากมองถึงเส้นทางทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตรและทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร เบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภทคือ ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร 2.ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และ 3.ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กม.

ทั้งนี้ แนวเส้นทางโครงการจะผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม และมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

โครงการดังกล่าวมีมูลค่าลงทุน 224,544.36 ล้านบาท แบ่งเป็นระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา 168,718 ล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 50 ปี คาดว่าจะการก่อสร้างเสร็จปี   2566–2567 ปริมาณผู้โดยสาร 147,200 คนต่อเที่ยวต่อวัน

ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )  โดยโครงการนี้ เป็นโครงการลงทุนในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน PPP Net Cost ซึ่งเอกชนที่ชนะการประมูลโครงการ คือกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร(กลุ่ม CPH) ที่เสนอราคาต่ำสุด และได้จรดปลายปากกาลงนามร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับ กลุ่ม CPH ในวันที่ 24 ต.ค.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งทางกลุ่ม CPH ได้จัดตั้ง "บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" หรือ "Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd." เป็นตัวแทนลงนามในสัญญาร่วมลงทุน ครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าวด้วย

ทำความรู้จัก!ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ (ตอน 5 )

นอกจากเป็นการต่อเชื่อมระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่สำคัญเข้าด้วยกันแล้ว ภาครัฐยังคาดหวังว่า การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานี นำความเจริญสู่ชุมชน เกิดการกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีที่ค้าขาย  มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในช่วงก่อสร้างมากถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปีข้างหน้า  

รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนรู้วิธีการทำงานในโครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อพัฒนาสู่การเป็นบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญสูง และมีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต


ข่าวแนะนำ