TNN 8 หมื่นปี กว่าเธอจะกลับมา ดาวหาง ‘จื่อจินซาน-แอตลัส’ ใกล้อำลาโลก

TNN

TNN Exclusive

8 หมื่นปี กว่าเธอจะกลับมา ดาวหาง ‘จื่อจินซาน-แอตลัส’ ใกล้อำลาโลก

8 หมื่นปี กว่าเธอจะกลับมา ดาวหาง ‘จื่อจินซาน-แอตลัส’  ใกล้อำลาโลก

ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ ดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส” (C/2023 A3) หรือสื่อส่วนใหญ่มักจะให้ฉายาว่า “ดาวหางแห่งศตวรรษ” พาดยาวส่องแสงสว่างอยู่บนท้องฟ้ายามค่ำคืนมานานหลายวัน

หากอยากจะเห็นความสวยงามของดาวหางแห่งศตวรรษนี้ นี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายของคุณ ก่อนสิ้นเดือนตุลาคม เพราะการที่ดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส” จะโคจรกลับมาใกล้โลกอีกครั้ง ต้องใช้เวลานานถึง 80,000 ปี 


---รู้จักดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส”---


ดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส” หรือ A3 ถูกพบครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม ปี 2023 โดยชื่อดาวหางนี้ ตั้งตามผู้ค้นพบ จากภาพถ่ายของหอดูดาวจื่อจินซาน ทางตะวันออกของเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ประเทศจีน และภาพถ่ายในโครงการแอตลัส ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุที่อาจพุ่งชนโลก


ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวงู ห่างดวงอาทิตย์ถึง 7.7 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ หลังจากนั้นได้เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 27 กันยายน 2567 ที่ระยะห่าง 0.3914 หน่วยดาราศาสตร์ และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ระยะห่าง 0.4724 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 71 ล้านกิโลเมตร


ภาพถ่ายจากทั่วสหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ และเอเชีย แสดงให้เห็นว่า ดาวหางดวงนี้ อยู่บริเวณกลุ่มระบบดาวเคราะห์ชั้นใน ประกอบไปด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร 


ปรากฎการณ์นี้ จะเกิดขึ้นทุก ๆ 80,000 หมื่นปี นั่นหมายความว่า ครั้งล่าสุดที่สามารถเห็นดาวหางดวงนี้ คือ ยุคมนุษย์นีแอนเดอร์ทาล ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ถ้าหากนับจากเวลานี้ หากเราต้องการเห็นดาวหางนี้อีกครั้ง ก็ต้องรอไปอีก 80,000 ปี เพื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ ก่อนจะกลับมาใกล้โลกอีกครั้ง ซึ่งบางประเทศบนโลกนี้ อาจไม่มีเหลืออยู่แล้ว 


---นับถอยหลังดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส” จากลาไป---


ณ ตอนนี้ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมองเห็นดาวหาง “จื่อจินซาน-แอตลัส” ด้วยตาเปล่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะว่าได้เคลื่อนผ่านจุดที่ใกล้สุดของโลกไปแล้ว ซึ่งมีระยะห่างอยู่ที่ประมาณ 44 ล้านไมล์ หรือราว 70 ล้านกิโลเมตรจากโลก แต่คุณก็ยังสามารถมองเห็นดาวหางนี้ ผ่านทางกล้องส่งทางไกล หรือ กล้องโทรทรรศน์ได้อยู่ไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ 


หลังจากนี้ เดือนพฤศจิกายนจะสามารถเห็นได้ในช่วงเย็นในบริเวณท้องฟ้าของซีกโลกเหนือ หลังพระอาทิตย์ตก ก่อนที่เดือนธันวาคม จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปหาดวงอาทิตย์ และจะไม่สามารถมองเห็นได้อีกต่อไป 


---เราจะดูดาวหางนี้ได้อย่างไร ?---


ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ หรือ NWS ระบุวิธีที่จะทำให้คุณสามารถมองเห็นดาวหางได้ ดังนี้ 


1.ท้องฟ้า ณ เวลานั้นต้องใสไร้เมฆ และสามารถมองเห็นได้ทางทิศตะวันตก 

2.มองไปทางทิศตะวันตก หลังพระอาทิตย์ตกไปได้ประมาณ 15-45 นาที ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เราอยู่บริเวณนั้น 

3.ใช้กล้องส่องทางไกล หรือ กล้องโทรทรรศน์จะช่วยให้มองเห็นดาวหางอย่างชัดเจน 


อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถมองเห็นดาวหางด้วยตาเปล่าแล้ว แต่เรายังสามารถมองเห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้อยู่จนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ 


แปล-เรียบเรียง: พรวษา ภักตร์ดวงจันทร์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

https://www.thegardnernews.com/story/news/regional/2024/10/18/comet-a3-can-still-be-seen-this-weekend-heres-what-to-know-massachusetts-space/75736374007/

https://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/c2023a3/

https://www.independent.co.uk/space/a3-comet-sighting-uk-how-to-see-b2633259.html

https://news.sky.com/story/comet-of-the-century-captured-in-photos-across-the-globe-13232781

ข่าวแนะนำ