TNN “ความรักเหมือนยาขม” วิจัยเผยอาการ “อกหัก” อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!

TNN

TNN Exclusive

“ความรักเหมือนยาขม” วิจัยเผยอาการ “อกหัก” อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!

“ความรักเหมือนยาขม” วิจัยเผยอาการ “อกหัก” อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!

มีงานวิจัยตามศาสตร์หัวใจวิทยา (Cardiology) ได้เปิดเผยว่า ที่จริงนั้น เมื่อเกิดอาการอกหัก “อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้”

“อกหักเพียงครั้งยังไม่เสียชีวิต” เป็นวลีที่บรรดาเพื่อน ๆ หรือผู้หลักผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเป็นการให้กำลังใจว่า การอกหักไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ผ่านมาและก็ผ่านไป Move On ให้ไว ๆ เริ่มต้นใหม่เสียดีกว่า


แต่เรื่องนี้ อาจจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมีงานวิจัยตามศาสตร์หัวใจวิทยา (Cardiology) ได้เปิดเผยว่า ที่จริงนั้น เมื่อเกิดอาการอกหัก “อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้”


Broken Heart Syndrome


อาการนี้ทางการแพทย์หัวใจเรียกว่า “Takotsubo Cardiomyopathy” หรือ “Broken Heart Syndrome” ได้รับการค้นพบในปี 1990 โดยทีมวิจัยนักหัวใจวิทยาชาวญี่ปุ่น ละตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ Clinical aspect of myocardial injury: from ischemia to heart failure 


รายละเอียดของโรคนี้ จะแสดงอาการประมาณว่า อยู่ ๆ หัวใจห้องทางซ้ายทั้งสองห้องจะขยายตัวแบบผิดปกติ แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ส่งผลให้หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ สูบฉีดเลือดไม่ได้ อาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด


เมื่อครั้งตอนตรวจพบอาการนี้ในยุคแรก ๆ ไม่มีความผิดปกติของเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือกล้ามเนื้อใด ๆ แต่พอสืบปูมหลัง กลับพบว่า “ผู้ป่วยมีบาดแผลทางจิตใจ ไม่ก็อกหักมาก่อน” จึงสรุปได้ว่า โรคนี้เป็นโรคใหม่ ไม่เหมือนโรคหัวใจแบบปกติ


วัยรุ่นไร้กังวล


วัยรุ่นไม่ต้องตื่นตระหนกไป เพราะอาการนี้ไม่ได้เกิดกับผู้อกหักทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัย 58-75 ปี 


โดยมีการสุ่มตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา พบว่า เมื่อผู้หญิงในวัยนี้อกหัก ไม่ว่าจะมาจากการผิดหวังในเรื่องของความรัก หรือคนรักที่อยู่กินกันมานานด่วนจากไป จะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 80 - 90% แตกต่างกับผู้ชายในวัยเดียวกัน ที่มักจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจแบบธรรมดาถึง 90% 


หรืออาจจะสรุปได้ว่า ผู้ชายอกหักไม่ค่อยตาย แต่ผู้หญิงอกหักอาจตายได้


Broken Heart Syndrome รักษาให้หายขาดได้ยากมาก ๆ เพราะการที่จะ Move On ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของผู้ป่วย แต่ก็พอจะมีทางรักษาที่ปลายเหตุ นั่นคือ การพยายามลดความผิดปกติในหัวใจห้องทางซ้ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งตอนนี้ ยังมีการวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษาอย่างต่อเนื่อง


แต่บางที เรื่องที่ทำให้เกิด Broken Heart Syndrome ก็อาจจะมาจาก “การเชียร์กีฬา” ได้เช่นกัน เพราะมีกรณีศึกษาว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งที่ไม่ได้อกหัก แต่เพราะผิดหวังจากการเชียร์ฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ ที่ปรากฏว่าทีมรักแพ้ จนส่งผลให้จิตใจไม่ปกติ และเสียชีวิตในที่สุด   


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล


แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ