TNN ดอกเบี้ย ขาขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพอย่างไร?

TNN

TNN Exclusive

ดอกเบี้ย ขาขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพอย่างไร?

ดอกเบี้ย ขาขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพอย่างไร?

สัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้หลายธุรกิจเริ่มมีการปรับแผนการดำเนินงาน เพราะในอนาคตจะนำไปสู่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ซึ่งจะกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนอย่างไร?

สัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้น  ตั้งแต่การที่ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ช่วงที่ผ่านมา ทำเอาบรรดาธนาคารกลางหลายประเทศ เริ่มจะพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะพุ่งขึ้น ไม่ต่างจากสหรัฐ  ไทยเองก็หนีไม่พ้นภาวะนี้ เพราะล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ก็ได้ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่าอาจมีการปรับขึ้น ดอกเบี้ย เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ  



กนง.ส่งสัญญาณความกังวลเงินเฟ้อ

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบล่าสุดนั้น คณะกรรมการประเมินว่าไทยมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ค่อยๆชัดเจนขึ้น  ดังนั้นกนง.จึงเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีความจำเป็นต้องลดลงในระยะข้างหน้า สะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อแล้ว



ธุรกิจลีสซิ่งเตรียมขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ใหม่

ล่าสุด กลุ่มผู้ประกอบการสินเชื่อเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง ได้ประกาศว่าเตรียมขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ประมาณ 0.1-0.2%. โดยจะให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้.  แต่ก่อนหน้านั้นก็จะมีการส่งหนังสือแจ้งไปยังบรรดาค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ให้ทราบและเตรียมตัวให้พร้อม  



ขณะเดียวกัน  ดอกเบี้ย ของลีสซิ่งเป็นการขยับขึ้นไปก่อนที่ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นด้วยซ้ำ สะท้อนว่าคงไม่ได้ปรับเพียงรอบเดียวอย่างแน่นอน  หรือตั้งข้อสังเกตได้ว่าหากแบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากนี้ ดอกเบี้ยเช่าซื้อรถก็คงขยับตามอีกรอบ ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกลุ่มคนที่จะซื้อรถใหม่ และอาจจะมีผลทำให้ค่างวดรถเพิ่มขึ้นไม่ถึง 100 บาทต่องวด



ธอส.นำร่องขึ้นดอกเบี้ยบ้าน

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)  กล่าวว่า การที่ กนง.  จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้งในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูง หรือโดยรวมไม่เกิน 0.50% ในปีนี้.   หาก กนง.มีการปรับขึ้น ดอกเบี้ย นโยบายในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ ธอส. จะทำการตรึงดอกเบี้ยให้นานที่สุด หรือ จะมีการปรับขึ้นในครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม โดยจะขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของอัตราดอกเบี้ยที่ กนง. ประกาศปรับขึ้น

 


ในกรณีที่ กนง. มีการประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในปีนี้ ในส่วนของ ธอส. จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 66 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และให้เวลาในการปรับตัวของลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้กำไรส่วนเกินที่คาดว่าในปี 65 นี้ ที่เดิมคาดว่าจะสูงกว่าเป้าหมาย 1.3 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 15% ลดลงเหลือเพียงกำไรตามเป้าหมายที่วางไว้เท่านั้น



 อย่างไรก็ตาม  ธอส. ยืนยันว่าหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแต่จะยังไม่กระทบต่อเงินงวดให้มีการปรับขึ้นในทันที หากเงินงวดยังเพียงพอในการตัดชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น แต่จะทำให้เงินต้นถูกตัดลดลง ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น เช่น จากเดิม 18 ปี เป็น 20 ปี เป็นต้น. แต่ถ้าหากดอกเบี้ยในตลาดปรับขึ้นแบบกระชั้นและติดกัน ก็อาจทำให้เงินงวดไม่เพียงพอที่จะไปตัดชำระดอกเบี้ย จึงจะมีผลทำให้ต้องปรับเงินงวดขึ้น แต่เชื่อว่าจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ธอส. ที่ช้ากว่าตลาด และขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งของตลาด จะทำให้เงินงวดในการชำระไม่ถูกกระทบและยังคงเท่าเดิมทั้งหมด




หลังจากนี้คงมีแต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง  ดอกเบี้ย  เงินกู้ของภาคธุรกิจต่าง ๆ ก็คงทยอยปรับขึ้นตามมาอีกหลายอย่าง เราคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด เพราะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายและความสามารถในการผ่อนจ่ายอย่างแน่นอน 




อ้างอิงข้อมูลจาก : ธอส. 

ภาพจาก: AFP 

ข่าวแนะนำ