TNN วันคุ้มครองโลก คือ วันสำคัญที่ต้องการให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

TNN

Tech

วันคุ้มครองโลก คือ วันสำคัญที่ต้องการให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

วันคุ้มครองโลก คือ วันสำคัญที่ต้องการให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มต้นของวันคุ้มครองโลกเริ่มต้นในปี 1962 โดยสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson)

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) วันสำคัญที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน เป็นประจำทุกปี โดยผู้คนทั่วโลกใน 193 ประเทศ ร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงประเทศไทยที่มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องนับจากปี 1990


การก่อตั้งวันคุ้มครองโลกถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 1970 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program "UNEP") แต่จุดเริ่มต้นของวันคุ้มครองโลกเริ่มต้นในปี 1962 โดยสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) พยายามขับเคลื่อนให้นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ก่อนผลักดันผ่านองค์การสหประชาชาติ


เป้าหมายหลักของวันคุ้มครองโลก (Earth Day) คือ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการปล่อยคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนของโลก อนุรักษ์ป่าไม้ ต่อต้านการซื้อ-ขาย สัตว์ป่า ส่งเสริมและปลูกฝังความรักธรรมชาติให้กับบุคคลโดยไม่จำกัดชนชาติ


การดำเนินการเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลก นอกจากลดปริมาณขยะและอนุรักษ์ธรรมชาติ การใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด รถยนต์หรือยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เป็นการช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างตรงจุดรูปแบบหนึ่ง


ปัจจุบันเว็บไซต์ Earthday.org กลายเป็นศูนย์ของการเผยแพร่กิจกรรมวันคุ้มครองโลก (Earth Day) โดยเว็บไซต์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกระจายความรู้และกระตุ้นความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยมีการทำกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 150,000 ราย


นอกจากการจัดกิจกรรมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ยังมีการจัดงานรูปแบบออนไลน์โดยใช้ชื่อของงานว่า Earth Day Climate Action Summit เป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ภายในกลางศตวรรษนี้ เพื่อรักษาอุณหภูมิโลกเอาไว้ให้อยู่สภาวะปกติ ช่วยส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 ตามข้อตกลงกรุงปารีส ที่หลายประเทศลงนามร่วมกัน


ที่มาของข้อมูล : wikipedia.org 

ที่มาของรูปภาพ : nasa.gov

ข่าวแนะนำ