TNN ‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ

TNN

สังคม

‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ

‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ

‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ เมนูอาหารป่าของอร่อยประจำฤดูฝน ต้องสังเกตอย่างไรไม่ใช่ ‘เห็ดพิษ’ เก็บมาผิดกินแล้วอาจถึงชีวิต

เห็ดถอบ หรือ เห็ดเผาะ อาหารอร่อยหารับประทานยากซึ่งเห็ดชนิดนี้จะมากในฤดูฝน ชาวบ้านนิยมเก็บเห็ดถอบมาขายเนื่องจากมีขายได้ราคาดี อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง คืออาจพลาดเก็บเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกันมาแทน เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจถึงแก่ชีวิตได้ 


เห็ดถอบ เห็ดพิษ แตกต่างกันอย่างไร? 


อาจารย์ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยถึงความแตกต่างระหว่าง เห็ดถอบ หรือ เห็ดเผาะ กับเห็ดพิษว่า  เห็ดในกลุ่มตระกูลเห็ดถอบ โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ อย่างที่ทราบกันดี จริงๆ แล้วยังมีเห็ดอื่นอีกหลายชนิดที่มีลักษณะกลมๆ คล้ายกัน เช่น พวกเห็ดไข่หงส์ เห็ดลูกฝุ่น เห็ดหำหมา - หำฟาน และพวกเห็ดดาวดิน 


เห็ดกลุ่มนี้มักจะมีผนังหนา แข็ง และขุรขระ บางชนิดมีสีออกเหลือง หรืออาจมีขนาดใหญ่กว่าลูกปิงปอง ซึ่งเป็นเห็ดกลุ่มที่รับประทานเข้าไปแล้วจะมีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร  ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย แต่อาจไม่ได้เป็นพิษร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ส่วนมากอาการมักจะเกิดเร็วภายในไม่เกิน 3-4 ชั่วโมงหลังจากที่รับประทานเข้าไปอย่างไรก็ตาม 


สำหรับวิธีสังเกตจำแนกเห็ดนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากเห็ดมี ชนิดพันธุ์หลากหลายมาก หากไม่ชำนาญจริงควรหลีกเลี่ยง


‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ


‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ


เห็ดเผาะหน้าตาเป็นแบบไหน? 


เห็ดเผาะ ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวลักษณะเป็นก้อนกลม สีขาวหม่น ขนาด 1.5-3.5 ซม. เห็ดเผาะไม่มีลำต้น  เห็ดที่ยังอ่อนอยู่จะมีสีขาวนวล ส่วนเปลือกรอบนอก ห่อหุ้มสปอร์สีขาวนวล เห็ดแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ ส่วนสปอร์ข้างในก็เป็นสีดำด้วย  เมื่อแก่มากๆ เปลือกเห็ดจะแตกออกเป็นแฉกรูปดาวเห็นสปอร์ข้าง


‘เห็ดถอบ - เห็ดเผาะ’ ของอร่อยประจำฤดูฝนสังเกตอย่างไร ไม่ใช่เห็ดพิษ



 เห็ดระโงก - เห็ดไข่ห่าน วายร้ายประจำฤดูฝน 


เห็ดกลุ่มที่มีพิษร้ายแรงจำพวก เห็ดระโงก - เห็ดไข่ห่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะออกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายนทุกๆ ปี  สำหรับเห็ดไข่ห่าน มีทั้งชนิดที่รับประทานได้และรับประทานไม่ได้ ทั้งสองแบบมีลักษณะคล้ายกันชนิดที่มีสีสด (สีเหลือง สีส้ม) สามารถรับประทานได้ ต่างกับชนิดที่มีสีขาวล้วน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งชนิดที่กินได้ หรือ เป็นชนิดที่มีพิษร้ายแรงมาก จุดสังเกตอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากคือ ด้านบนของดอกเห็ด จะเห็นเป็นเส้นๆ เป็นรอยเหมือนกับเป็นหวี ถ้าไม่มีหวีด้านบนลักษณะนี้มีพิษรุนแรง รับประทานเพียงแค่ดอกเดียว พิษก็อาจส่งผลกระทบต่อตับอย่างรุนแรง ถึงขั้นตับวายได้ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต


คนมักนิยมกินเห็ดไข่ห่าน หรือเห็ดระโงกตอนที่ยังตูมๆ ซึ่งอันนี้ น่าเป็นห่วงมาก เพราะ ถ้าดอกเห็ดยังไม่บาน ลักษณะในการจำแนกระหว่างไข่ห่านกินได้ หรือไม่ได้ จะยังแสดงไม่ครบ จึงควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด


กรณีเมื่อรับประทานเห็ดชนิดที่เป็นพิษร้ายแรงส่วนใหญ่มักจะไม่เกิดอาการทันที แต่จะมีอาการหลังจาก 6 ชั่วโมง ขึ้นไป ซึ่งหากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์ทันที แม้อาการจะดีขึ้นในช่วงแรกแล้วก็ตาม เพราะหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้


เผลอกินเห็ดพิษเข้าไปทำอย่างไร? 


กรณีรับประทานเห็ดที่มีพิษเข้าไป แล้วมีอาการ เบื้องต้นเมื่อไปพบแพทย์ให้นำเห็ดดังกล่าวเข้าไปด้วยเสมอ ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบ หรือทำการปรึกษากับทางศูนย์พิษวิทยาต่างๆได้ เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นเห็ดชนิดใด ต้องแก้ไข ให้การรักษาอย่างไร หากเกิดอาการเร็วภายใน 3-4 ชั่วโมง ก็จะรักษาประคับประคอง 


ส่วนใหญ่จะไม่กระตุ้นให้อาเจียนเพราะอาจสำลักได้ กรณีเมื่อมาพบแพทย์เร็วจะให้รับประทานทานผงถ่านทางการแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการ และอาจต้องทำการเจาะตรวจเลือดเพื่อประเมินอาการด้านต่างๆ พร้อมให้การรักษาตามขั้นตอน 



ข้อมูลจาก: อาจารย์นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ 

ภาพจากอาจารย์นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ / ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่, สกลนคร 

ข่าวแนะนำ