

สรุปข่าว
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานวา สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.ปีนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ แต่การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังคงชะลอตัว ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของภาคใต้ รวมถึงสถานการณ์ของภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย. ปีนี้ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนลดลง หลังจากที่เร่งขึ้นจากผลของมาตรการเงินโอนภาครัฐ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน แต่ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ และการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มในระยะข้างหน้ามองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังมีแรงส่ง จากภาคท่องเที่ยวและบริการ ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและการแข่งขันที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการฟื้นตัวของรายรับธุรกิจและรายได้ครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง โดยยังต้องติดตาม ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก แลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
ขณะที่ หลักทรัพย์ บัวหลวง ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง โดยอาจยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจ SMEs คาดการณ์ว่า GDP ปีหน้าจะเติบโตที่ร้อยละ 2.4 ซึ่วในกรณีเลวร้าย (Worst Case) หากประธานาธิบดีทรัมป์ดำเนินนโยบายการค้าเข้มงวด เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 60-100 และเก็บภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 10-20 จากประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ การส่งออกของไทยมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลงมากกว่ากรณีฐานอาจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 และ GDP ปีหน้าอาจขยายตัวแค่ร้อยละ 1.9
ด้านมุมมองการลงทุน นายพิริยพล คงวาณิช ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์พื้นฐาน สายงานวิจัย หลักทรัพย์บัวหลวง ประเมินว่า ภาพรวมกลุ่มอสังหาฯ Outlook fundamental กำไรค่อนข้างอ่อนแอ ในอนาคต Outlook ยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากในกลุ่มนี้มีการเชื่อมโยงกับการบริโภคภายในประเทศ ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนสูงมาก รวมถึงหนี้เสียที่ยังสูงมากเช่นกัน เพราะฉะนั้น fundamental ไม่มีปัจจัยเข้ามาช่วยหนุนในกลุ่มนี้เลย
ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนควรหันไปลงทุนในกลุ่มธนาคารแทน เพราะได้ในเรื่องของ Dividend เช่น KTB หรือ กลุ่มโรงไฟฟ้า WHAUP ที่ปันผลค่อนข้างสูงร้อยละ 4-5 บวกกับได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตที่จะยังมีต่อ โดยยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงในกลุ่มอสังหาฯ เพราะมองว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอตัวมากกว่าปีนี้ จากปัญหาหนี้ครัวเรือน แม้ว่าภาครัฐจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จะได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่จะนำไปจับจ่ายในสินค้าที่จำเป็นก่อน บวกกับดีมานด์ยังอ่อนแอ ซัพพลายยังค้างอยู่ยังไม่เห็นสัญญาณในการฟื้นตัว
จากกำลังซื้อที่อ่อนแอลงส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าลงทนอย่างรถยนต์ชะลอลง บวกกับแบงก์เข้มงวดการให้กู้เพราะกังวลหนี้เสีย เช่นเดียวกับการซื้อที่อยู่อาศัยก็ยังอ่อนแอ ส่งผลให้การซื้อขายในภาคเช้าวันนี้หุ้นในกลุ่มอสังหาฯ 13 บริษัท ปรับร่วงลงยกแผง อาทิ หุ้น SC ร่วงร้อยละ 1.45 // SPALI ร่วงร้อยละ 1.10 // BRI ร่วงร้อยละ 1.07 // LH ร่วงร้อยละ 0.99 // SENA ร่วงร้อยละ 0.89 //NOBLE ร่วงร้อยละ 0.74 // ORI ร่วงร้อยละ 0.53 เป็นต้น
ที่มาข้อมูล : -