ประวัติศาสตร์อภัยโทษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ประวัติศาสตร์อภัยโทษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สรุปข่าว

โดนัลด์ ทรัมป์


เริ่มตั้งแต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาวิจารณ์ประธานาธิบดีโจ ไบเดนอย่างหนัก ว่าการอภัยโทษให้ลูกชาย “ฮันเตอร์ ไบเดน” นั้น บิดเบือนความยุติธรรม


แต่ทรัมป์ก็อภัยโทษให้ใครหลาย ๆ คนมาแล้ว ตั้งแต่อดีตผู้ช่วยส่วนตัว มาจนถึงล่าสุด ที่ประกาศอภัยโทษให้กับ “ชาลส์ คุชเนอร์” บิดาของจาเร็ด คุชเนอร์ สามีของอิวางกา ทรัมป์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ดองของเขานั่นเอง  จากคดีทุจริต เลี่ยงภาษี 16 กระทง และอื่น ๆ อีก - อีกทั้งล่าสุด ยังแต่ตั้ง ชาลส์ คุชเนอร์คนนี้ เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำฝรั่งเศสอีกด้วย


มีดองเป็นประธานาธิบดี..ก็ดีเช่นนี้เอง


บารัค โอบามา


บารัค โอบามา ผู้นำผิวสีรายนี้ ไม่ได้มีการอภัยโทษที่อื้อฉาวมากนัก โดยหนึ่งในคนที่เป็นประเด็นที่สุด คือ “เชลซี แมนนิ่ง” อดีตทหารเมริกัน ที่แฉข้อมูลและเอกสารลับให้กับเว็ปไซต์จอมแฉ WikiLeaks 


บิล คลินตัน


ถัดมา บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดี ผู้เป็นทั้งที่รัก และที่ชัง ของชาวอเมริกัน ที่ใช้อำนาจอภัยโทษให้กับสามีของเศรษฐีนีผู้บริจาครายใหญ่ให้กับพรรค อย่าง “มาร์ก ริช” นักการเงินดัง ที่ถูกตั้งข้อหาเลี่ยงภาษี - เรื่องนี้ถูกแฉ จากการที่สำนักสอบสวนกลาง หรือ FBI ตรวจค้นอีเมล์ของฮิลลารี คลินตัน สมัยที่เธอชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ  ที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเพียงแค่ไม่กี่วัน -  จึงเป็นเรื่องอื้อฉาวว่า .. อภัยโทษให้มาร์ก ริช เพราะหวังเงินบริจาคนับล้านเข้าพรรคระหว่างหาเสียงหรือไม่?


อีกทั้ง บิล คลินตัน ยังอภัยโทษให้กับพี่ชายร่วมสายเลือดอย่าง “โรเจอร์ คลินตัน จูเนียร์” จากความผิดฐานสมคมคิดจำหน่ายโคเคน ในวันสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งในปี 2001 ด้วย 


ประโยชน์ แลกประโยชน์ ก็เช่นนี้เอง


แอนดรูว์ จอห์นสัน


หรือหากย้อนกลับไปไกลหน่อย ในยุคสงครามกลางเมือง กรณีประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน ที่พยายามจะรวมประเทศหลังสงครามอันยาวนาน จึงออกคำสั่งนิรโทษกรรมครั้งใหญ่ ให้กับเจ้าหน้าที่ และทหารฝ่ายสมาพันธรัฐ ราว 12,600 นาย ที่กลายเป็นที่ถกเถียงอย่างหนัก 


ริชาร์ด นิกสัน - เจอรัล ฟอร์ด


ส่วนกรณีสุดอื้อฉาวทางการเมืองของสหรัฐฯ อย่างคดีวอเตอร์เกตส์  ที่เป็นการลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ที่อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ ในกรุงวอชิงตันดีซี .. และผลการตรวจสอบพบว่า “ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน” มีส่วนรับรู้เหตุการณ์ดังกล่าวด้วย นำมาสู่การยอมลาออกของเขาในที่สุด และเป็นการลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ


ก่อนที่ประธานาธิบดีคนต่อมา อย่าง “เจอรัล ฟอร์ด” จะใช้อำนาจในการอภัยโทษให้กับ “ริชาร์ด นิกสัน” ทั้งหมด เมื่อปี 1974 - ซึ่งแม้ประชาชนจะกังวลต่อการอภัยโทษครั้งนี้ แต่ฟอร์ดยืนยันว่า นี่คือผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแล้วสำหรับประเทศ - และคาดว่า ผลของการอภัยโทษครั้งนั้นเอง ที่ทำให้ฟอร์ดพ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งให้กับ “จิมมี่ คาร์เตอร์” ในอีก 2 ปีถัดมา (1976)


จิมมี่ คาร์เตอร์


จิมมี่ คาร์เตอร์ เองก็ถูกวิจารณ์อยู่ไม่น้อย จากการอภัยโทษให้กับผู้หลบหนีการเกณฑ์ทหารไปร่วมในสงครามเวียดนามหลายแสนคน ตั้งแต่วันที่ 2 ของการรับตำแหน่ง ซึ่งเป็นนโยบายที่เขาหาเสียงเอาไว้



อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นอำนาจที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ก็มีกระแสเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีไม่ควรจะมีอำนาจชนิดนี้  เพราะมันจะเป็นผลทางการเมือง มากกว่าที่จะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม



อ้างอิง

https://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-politics/controversial-presidential-pardons-biden-trump-b2657552.html

https://news.sky.com/story/what-is-the-us-presidential-pardon-and-when-has-it-been-used-13265442

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :