เปิดภาพ "เพนกวินด่างหายาก" ถูกพบในแถบขั้วโลกใต้ของชิลี

เปิดภาพ "เพนกวินด่างหายาก" ถูกพบในแถบขั้วโลกใต้ของชิลี

สรุปข่าว

ประเทศชิลี พบ "เพนกวินด่าง" เป็นสายพันธุ์หายาก ในพื้นที่สภาพอากาศหนาวเย็นแถบขั้วโลกใต้

ชิลี พบ เพนกวินด่าง ที่สถานีวิจัยกาเบรียล กอนซาเลซ วิเดลา ในพื้นที่สภาพอากาศหนาวเย็นขั้วโลกใต้ของประเทศชิลี เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นเพนกวินด่างเพศเมีย สายพันธุ์เกนทู หรือ ไซกอสเซลิส ปาปัวซึ่งโดยทั่วไปจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือขนสีดำและขาว รวมทั้งจุดที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคือแถบสีขาวอยู่บนส่วนหัว


เปิดภาพ เพนกวินด่างหายาก ถูกพบในแถบขั้วโลกใต้ของชิลีภาพจาก รอยเตอร์

 



ดิเอโก เปนาโลซา นายสัตวแพทย์ กล่าวว่า ภาวะด่าง หรือ ลิวซิซึม เป็นสภาพทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียเม็ดสีของขนสัตว์ปีก หรือ ขนของสัตว์ชนิดอื่นๆ แต่สีของตายังคงปกติ ไม่เปลี่ยนตาม แต่เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากภาวะเผือก หรือ อัลบิโน และ ว่า ภาวะลิวซิซึม ถูกพบในสัตว์หลายสายพันธุ์และอาจทำให้สัตว์ประเภทนั้นที่มีภาวะด่าง กลายเป็นเหยื่อของสัตว์ผู้ล่าได้ง่ายขึ้นจากลักษณะของสีขนที่ขาวด่าง ซึ่งมองเห็นเด่นชัดกว่า


เปิดภาพ เพนกวินด่างหายาก ถูกพบในแถบขั้วโลกใต้ของชิลีภาพจาก รอยเตอร์

 


เปิดภาพ เพนกวินด่างหายาก ถูกพบในแถบขั้วโลกใต้ของชิลีภาพจาก รอยเตอร์

 





ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

เพนกวิน
เพนกวินหายาก
เพนกวินด่าง
ชิลีขั้วโลกใต้