
เต่าทะเลตัวนี้ คงถูกหลงลืมไปแล้ว เพราะในที่สุด อเมริกา ก็จะกลับไปใช้หลอดพลาสติก
"เราจะกลับไปใช้หลอดพลาสติก หลอดกระดาษไม่ดีเลย มันแตกยุ่ย ดูดไปก็ระเบิด ถ้าน้ำร้อน มันก็อยู่ได้ไม่นาน อยู่ได้แค่ไม่กี่นาที บางครั้งก็ไม่กี่วินาที" ทรัมป์ กล่าว
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งพิเศษ สนับสนุนคนอเมริกันกลับมาใช้หลอดพลาสติก ด้วยเหตุผลว่า หลอดกระดาษมันไม่เวิร์กเลย และหลอดพลาสติก ไม่เป็นอันตรายต่อฉลามหลอก เพราะฉลามกินหมดนั่นแหละ
แต่นั่นเป็นคนละเรื่อง กับคลิปอันน่าสะเทือนใจนี้ จำคลิปนี้เมื่อปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 ได้ไหม นักศึกษาปริญญาเอก ค่อย ๆ ดึงหลอดพลาสติก ออกจากโพรงจมูกเต่าทะเล ที่เขาเจอนอกชายฝั่งคอสตาริกา

สรุปข่าว
เสียงร้อง น้ำตา และความทรมานของเต่าทะเลตัวนี้ กลายเป็นสัญลักษณ์การขับเคลื่อนลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งไปทั่วโลก
จนกระทั่งวันนี้ ที่ในอเมริกา เหมือนความพยายามที่แล้วมา มันสูญเปล่า
นักเคลื่อนไหวในไทยเองก็ผิดหวังมากเช่นกัน
"ไม่คิดว่าเป็นประเด็นแค่ว่า หลอดพลาสติก กับหลอดกระดาษ แต่มันเป็นประเด็นเรื่อง วัฒนธรรมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว สู้กับวัฒนธรรมการใช้ซ้ำ อย่างหลอดพลาสติก หรือพลาสติก แบบใช้ครั้งเดียวเนี่ย ในอนาคต เราผลักดันไปในทิศทางของการใช้ซ้ำมากขึ้น" ปุณญธร จึงสมาน มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม กล่าวกับ Reuters
"การเติม ระบบต่าง ๆ ที่จะงดการใช้วัสดุแบบใช้ครั้งเดียว ไม่ว่าประเภทใดก็ตาม มันควรจะไปในทิศทางนั้น"
รู้ไหมว่าในทะเลอันดามัน สัตว์ทะเลในกลุ่มเสี่ยง เป็นเหยื่อมลพิษพลาสติกเพิ่มขึ้น 30-40% ในปี 2566 จากแค่ 20% ในปี 2564
เต่าทะเลที่ตาย และเกยตื้นในไทย ในร่างกายมันก็มีพลาสติกอยู่มาก และทราบไหมว่า ปริมาณพลาสติกที่ถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นจาก 81 ล้านตันในปี 2563 เป็น 119 ล้านตันในปี 2040 แล้ว
ที่มาข้อมูล : Reuters
ที่มารูปภาพ : Sea Turtle Biologist / Christine Figgener