
มีโดนัล ทรัมป์ ต้องมีอีลอน มัสก์
กลายเป็นว่าในการเข้าสู่ตำแหน่งสมัยที่สองของ โดนัลด์ ทรัมป์ ปธน.สหรัฐฯ คนที่ขึ้นมามีบทบาท และได้รับความสนใจไม่ต่างจากทรัมป์คือ อีลอน มัสก์ เจ้าของกิจการ และหนึ่งในมหาเศรษฐีของโลก ซึ่งนอกจากจะออกตัวสนับสนุนทรัมป์อย่างสุดใจแล้ว ล่าสุดเขายังมีตำแหน่งในรัฐบาล และเริ่มออกตัวทำอะไรหลายๆ อย่างแล้วด้วย
แล้วตำแหน่งของอีลอน มัสก์ คืออะไร ?
สำนักข่าว CNN รายงานจากการอ้างอิงของเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวว่า มัสก์ ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิเศษของรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์อย่างเป็นทางการ โดยตำแหน่งดังกล่าวไม่ใช่อาสาสมัคร รวมถึงไม่ใช่ทั้งพนักงานรัฐบาลเต็มเวลาด้วย
แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับเงินเดือน แต่เขาก็ได้รับอีเมลและสำนักงานของรัฐบาล
จากข้อมูลสรุปของกระทรวงยุติธรรม พนักงานพิเศษของรัฐบาล คือ
“บุคคลใดก็ตามที่ทำงานหรือคาดว่าจะทำงานให้กับรัฐบาลไม่เกิน 130 วันในช่วงระยะเวลา 365 วัน”
สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า สังกัดที่มัสก์อยู่นั้น คือ Department of Government Efficiency หรือ DOGE หน่วยเดิมคือหน่วยงาน United States Digital Service ก่อนที่ทรัมป์จะเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อใหม่นี้ และมอบหมายให้มัสก์ควบคุม โดยมีเป้าหมายเพื่อ ลดขนาดระบบราชการ ลดค่าใช้จ่าย ควบคุมการใช้จ่ายรัฐ โดยทรัมป์ระบุว่า DOGE ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐอย่างเป็นทางการ ที่จะต้องผ่านกฎหมายของสภาคองเกรส แต่ DOGE จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาภายนอกให้ทำเนียบขาวสามารถใช้แนวทางของโครงการนี้เพื่อตรวจสอบและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ที่คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีของรัฐบาลกลาง
และแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษ แต่เชื่อว่าการแต่งตั้งดังกล่าว ทำให้มัสก์ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของรัฐบาลหลายประการ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด รวมถึงยังไม่แน่นอนว่า การแต่งตั้งทำให้เขาต้องยื่นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินต่อสาธารณะหรือไม่
อีลอน มัสก์ กับภารกิจของเขา
มีรายงานจาก WIRED ว่า มัสก์ ได้ประกาศกับเพื่อนๆ ว่าตอนนี้เขาได้ใช้ชีวิต และนอนที่
ตึกสำนักงานบริหารไอเซนฮาวร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทำเนียบขาวด้วย ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน แต่หลายฝ่ายก็มองว่า คล้ายคลึงกับเรื่องราวที่มัสก์เล่า ว่าเขามักทุ่มเท พิสูจน์การทำงานกับเหล่าพนักงานด้วยการนอนที่ออฟฟิศ หรือในโรงงาน ในครั้นที่เขาทำงานกับ
Twitter และ Tesla ด้วย
ทั้งมัสก์ ยังถูกเรียกว่าเป็น ‘ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคโนโลยีของทำเนียบขาว’ และการเข้ามาอยู่ในรัฐบาลนั้น ยังไม่แน่นอนด้วยว่า ข้อจำกัด และอิทธิพลของเขามีมากแค่ไหน แต่ทรัมป์ได้ประกาศว่าหน่วยงาน DOGE จะเป็นหน่วยงานที่โปร่งใส และมาจับฉ้อโกง หรือทุจริตต่างๆ ที่ผลาญงบประมาณ
หลังทรัมป์เข้ามาดำรงตำแหน่ง เราเห็นคำสั่งพิเศษหลายฉบับที่สะเทือนผลกระทบไปทั่วโลก อย่างการตัดงบช่วยเหลือของ USAID นั่นก็อาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเป้าหมายของงานของมัสก์ ที่ประกาศตัวว่าเข้ามาเพื่อลดคน และลดค่าใช้จ่ายรัฐบาล
โดยสำหรับ USAID นั้น มัสก์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีปัญหาที่เกินกว่าจะแก้ไข และเสริมว่าทรัมป์ก็เห็นด้วยว่าหน่วยงานควรถูกปิด ซึ่งนอกจาก USAID แล้ว ยังมีการประกาศให้หน่วยงานต่างๆ ระบุจำนวนพนักงานขั้นต่ำที่จำเป็นในหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตตามรัฐธรรมนูญ และตามคำสั่งของกฎหมาย"
นอกจากนี้ สื่อหลายแห่งยังรายงานว่า
เห็นความพยายามของมัสก์ในการเข้าไปตรวจสอบระบบทั้งระบบพนักงาน และข้อมูลด้านการเงิน
The New York Times รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน อดีตพนักงานของมัสก์ 3 คน ได้เข้ารับตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานบริหารงานบุคคล และเจ้าหน้าที่ของ DOGE ยังเริ่มไปปรากฎตัวในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล แบบที่ไม่มีการแจ้งก่อนล่วงหน้าด้วย
จากการทำงานที่ผ่านมาในสัปดาห์แรกๆ พบว่างานส่วนใหญ่ของ DOGE เกิดขึ้นเบื้องหลัง สมาชิกในทีมได้ปรากฏตัวที่กระทรวงกิจการทหารผ่านศึก กระทรวงการคลัง หน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง และสำนักงานบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติเป็นต้น
ทั้งล่าสุด ยังมีการประกาศว่า มัสก์จะเข้าไปดูงบประมาณการใช้จ่ายในกองทัพและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจสอบการทุจริจด้วย

สรุปข่าว
อีลอน มัสก์ กับภารกิจของเขา
มีรายงานจาก WIRED ว่า มัสก์ ได้ประกาศกับเพื่อนๆ ว่าตอนนี้เขาได้ใช้ชีวิต และนอนที่
ตึกสำนักงานบริหารไอเซนฮาวร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทำเนียบขาวด้วย ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน แต่หลายฝ่ายก็มองว่า คล้ายคลึงกับเรื่องราวที่มัสก์เล่า ว่าเขามักทุ่มเท พิสูจน์การทำงานกับเหล่าพนักงานด้วยการนอนที่ออฟฟิศ หรือในโรงงาน ในครั้นที่เขาทำงานกับ
Twitter และ Tesla ด้วย
ทั้งมัสก์ ยังถูกเรียกว่าเป็น ‘ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคโนโลยีของทำเนียบขาว’ และการเข้ามาอยู่ในรัฐบาลนั้น ยังไม่แน่นอนด้วยว่า ข้อจำกัด และอิทธิพลของเขามีมากแค่ไหน แต่ทรัมป์ได้ประกาศว่าหน่วยงาน DOGE จะเป็นหน่วยงานที่โปร่งใส และมาจับฉ้อโกง หรือทุจริตต่างๆ ที่ผลาญงบประมาณ
หลังทรัมป์เข้ามาดำรงตำแหน่ง เราเห็นคำสั่งพิเศษหลายฉบับที่สะเทือนผลกระทบไปทั่วโลก อย่างการตัดงบช่วยเหลือของ USAID นั่นก็อาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเป้าหมายของงานของมัสก์ ที่ประกาศตัวว่าเข้ามาเพื่อลดคน และลดค่าใช้จ่ายรัฐบาล
โดยสำหรับ USAID นั้น มัสก์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีปัญหาที่เกินกว่าจะแก้ไข และเสริมว่าทรัมป์ก็เห็นด้วยว่าหน่วยงานควรถูกปิด ซึ่งนอกจาก USAID แล้ว ยังมีการประกาศให้หน่วยงานต่างๆ ระบุจำนวนพนักงานขั้นต่ำที่จำเป็นในหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตตามรัฐธรรมนูญ และตามคำสั่งของกฎหมาย"
นอกจากนี้ สื่อหลายแห่งยังรายงานว่า
เห็นความพยายามของมัสก์ในการเข้าไปตรวจสอบระบบทั้งระบบพนักงาน และข้อมูลด้านการเงิน
The New York Times รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน อดีตพนักงานของมัสก์ 3 คน ได้เข้ารับตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานบริหารงานบุคคล และเจ้าหน้าที่ของ DOGE ยังเริ่มไปปรากฎตัวในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล แบบที่ไม่มีการแจ้งก่อนล่วงหน้าด้วย
จากการทำงานที่ผ่านมาในสัปดาห์แรกๆ พบว่างานส่วนใหญ่ของ DOGE เกิดขึ้นเบื้องหลัง สมาชิกในทีมได้ปรากฏตัวที่กระทรวงกิจการทหารผ่านศึก กระทรวงการคลัง หน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง และสำนักงานบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติเป็นต้น
ทั้งล่าสุด ยังมีการประกาศว่า มัสก์จะเข้าไปดูงบประมาณการใช้จ่ายในกองทัพและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจสอบการทุจริตด้วย
ผลประโยชน์ทับซ้อน และความกังวลในการทำงานของมัสก์
แต่ถึงทรัมป์จะประกาศว่า DOGE เป็นหน่วยงานที่โปร่งใส และจะมาปราบทุจริต แต่ไม่ถึง 1 เดือน หน่วยงานต่างๆ ต่างก็แสดงความกังวลว่าการทำงานของ DOGE นั้นไม่ได้ดูโปร่งใสอย่างที่อ้าง แถมยังเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทั้งการเงิน ประกัน และข้อมูลที่อาจเป็นผลประโยชน์ต่อธุรกิจของอีลอน มัสก์ได้ด้วย
โดยล่าสุด ศาลสหรัฐฯ ระงับไม่ให้ทีมงานของ DOGE เข้าถึงระบบของภาครัฐที่ใช้ประมวนผลการชำระเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ชั่วคราว โดยอ้างถึงความเสี่ยงที่ข้อมูลออ่อนไหวอาจถูกเปิดเผยอย่างไม่เหมาะสม โดยในคำร้องการระงับ ระบุว่า มัสก์และทีม อาจทำให้ระบบการเงินสนับสนุนคลินิกสุขภาพ โรงเรียนอนุบาล โครงการริเริ่มด้านสภาพอากาศ และโครงการอื่นๆหยุดชะงัก
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่า ทั้งทรัมป์ และมัสก์ อาจใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองต่อไปด้วย โดยอัยการสูงสุดนิวยอร์กกล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ “ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ซึ่งอาจทำให้เงินทุนจำนวนมหาศาลของรัฐและประชาชนตกอยู่ในอันตราย”
นอกจากนี้ ชอเรีย สมิธ ประธานสหภาพพนักงานรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นตัวแทนของพนักงานบางส่วนของหน่วยงาน กล่าวว่าไม่ชัดเจนว่าทีมของมัสก์ได้เข้าถึงระบบภายในใดบ้างและด้วยเหตุใด นั่นจึงถือเป็นเรื่องน่าตกใจ และขาดความโปร่งใส ขัดกับสิ่งที่ทรัมป์ประกาศ
มากไปกว่านั้น ยังมีความกังวลว่า การเข้ามาทำงานของมัสก์ ที่เข้าถึงข้อมูลของรัฐต่างๆ มากมาย อาจส่งผลต่อธุรกิจของมัสก์ได้ เช่น หลังการประกาศของทรัมป์ ในการเรียกเก็บภาษี 25% จากแคนาดา ทำให้รัฐออนแทรีโอของแคนาดาประกาศว่าจะยกเลิกสัญญากับ Starlink ซึ่งเป็นบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของมัสก์
แต่ไม่เพียงผลด้านลบ กลับมีการมองว่าการทำงานของเขา อาจเอื้อต่อประโยชน์ทางธุรกิจมากมายต่อบริษัทของเขา และผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย
วอลเตอร์ ชอว์บ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานจริยธรรมของรัฐบาล มองเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของบทบาทของมัสก์ และเหตุใดชาวอเมริกันจึงควรกังวลเรื่องนี้ว่า
“รัฐบาลทรัมป์มีหน้าที่ต้องอธิบายรายละเอียดให้ชาวอเมริกันทราบอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลคาดหวังที่จะจัดการกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างไร รวมถึงมองว่ามัสก์และผู้เข้าร่วม DOGE คนอื่นๆ เป็นอาสาสมัคร พนักงานพิเศษของรัฐบาล หรือพนักงานปกติของรัฐบาล” เขากล่าวในอีเมล
หลายฝ่ายมองว่า ตำแหน่งของมัสก์ ได้รับประโยชน์ทางการเงินและกลยุทธ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับทั้งตัวเขาและบริษัทของเขา ทั้ง Tesla และบริษัทขนส่งอวกาศ SpaceX อย่างเช่นจากบทบาทใน Doge มัสก์ อาจดูแล หรือรื้อถอน หน่วยงานรัฐที่มักมีปัญหากับธุรกิจของเขาได้ เช่น
สำนักงานบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ ที่มักทำการตรวจสอบระบบ
Autopilot ของ Tesla หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่เคยลงโทษมัสก์เกี่ยวกับการทวีตข้อความบน X ที่ส่งผลต่อตลาด หรือหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ
ด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจำกัดการทำงานของ SpaceX ได้
แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในการเป็นผู้นำของมัสก์ใน DOGE และเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวลมากที่สุดคือ
การเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะพนักงานของ DOGE มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดิจิทัลในระบบการชำระเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงข้อมูลบัญชีธนาคาร หมายเลขประกันสังคม และเอกสารภาษีเงินได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพวกเขายังยึดสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ ข้อมูล ธุรกรรม และบันทึกของระบบอีกด้วย
แม้ว่าตอนนี้ เบื้องต้นจะมีการระงับการเข้าถึงจากศาลสหรัฐฯ แล้ว แต่ต้องดูต่อไปว่า ในอนาคตพวกเขาจะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้อีกหรือไม่
ทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา นิตยสารไทม์ ออกปกใหม่ เป็นภาพอีลอน มัสก์ นั่งถือแก้วกาแฟ บนโต๊ะทำงานประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงทำให้ตอนนี้หลายคนมองว่า ผู้อยู่เบื้องหลัง ปธน. คือมัสก์ มากกว่าทรัมป์ด้วย ไปถึงมีการเรียกว่าการทำงานของมัสก์ เป็นเผด็จการ และรัฐประหารเบื้องหลังรัฐบาลสหรัฐฯ เลยทีเดียว
ที่มารูปภาพ : AFP