

สรุปข่าว
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Google ได้ออกมาชี้แจงนโยบายสำหรับผู้พัฒนาแอปพลิเคชันใน Google Play Store ว่าทางผู้พัฒนาจะมีเวลาให้ 1 ปี หรือภายในเดือนกันยายนปี 2021 สำหรับการปรับแก้ไขตัวแอปพลิเคชันของตนเองให้ตรงกับนโยบายด้านการซื้อขายสิ่งต่าง ๆ ภายในแอป (In-app Purchases) ตามที่ทาง Google กำหนดเอาไว้ โดยในปีหน้าแอปพลิเคชันทั้งหมดที่มีการจำหน่ายสินค้าดิจิทัลผ่านทาง Play Store จะต้องใช้ระบบการจ่ายชำระเงินของ Google ทั้งหมด
เรื่องนี้หากเล่าให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ แอปทุกแอปบน Play Store ต่อไปนี้ เช่น เกมต่าง ๆ ที่มีของให้เราสามารถใช้เงินจริงซื้อออกมาใช้ได้ทั้งหมด จำเป็นจะต้องใช้บริการของ Google เป็นตัวกลางสำหรับซื้อขายทั้งหมด ซึ่งนั่นรวมไปถึงแอปพลิเคชันสมัครรายเดือนต่าง ๆ เช่น Netflix ที่ต้องปรับการสมัครสมาชิกของตนเองหรือการต่อเวลา ให้ทำได้ผ่านทางบริการของ Google ทั้งหมด
แม้ว่าแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ของ Google จะไม่เกิดผลกระทบอะไรนักเกี่ยวกับนโยบายนี้ แต่แอปอย่าง Netflix, Spotify, และ Tinder จะต้องปรับวิธีการชำระเงินในแอปของตนเองใหม่ โดยนโยบายดังกล่าว ทาง Google คาดการณ์ว่าจะลดการซื้อขายภายใน Play Store ลงไปมากถึง 30% แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปีหน้าทาง Google ยืนยันว่า Android 12 จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มติดตั้งแอปพลิเคชันอื่นที่ไม่ใช่ Play Store ได้ง่ายขึ้น และจะพยายามระวังไม่ให้กระทบต่อมาตรการด้านความปลอดภัยของ Android อีกด้วย
เชื่อว่าสิ่งที่ Google ทำนี้ก็เพื่อแสดงนโยบายของตนเองให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แอปทุกแอปที่อยู่บนแพลตฟอร์มของตน จำเป็นต้องใช้ Google เป็นระบบกลางไม่ว่าจะในกรณีใด ๆ ก็ตาม และ Google ยังแสดงให้ห็นว่าตนเองไม่ได้ผูกขาดตลาดของ Android เอาไว้เพียงคนเดียว แต่ยังเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มอื่น ๆ สามารถเข้ามาใช้ Google ในการโปรโมทตัวเองได้ รวมไปถึงการซื้อขายของในแอปเองก็ตาม ที่ต่อให้ Google ห้ามไม่ให้ทำผ่านแอปโดยตรง แต่ก็ไม่ได้ห้ามให้นักพัฒนา หรือผู้บริโภคติดต่อกันเองได้แต่อย่างใด
นโยบายที่เปลี่ยนแปลง เพราะปัญหาระหว่าง Epic และ Apple
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีกรณีข้อพิพาทครั้งใหญ่เกิดขึ้นระหว่างค่าย Epic Game กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มติดตั้งแอปพลิเคชันอย่าง Apple และ Google เมื่อผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทั้ง 2 จำเป็นต้องนำเอาเกม Fortnite ซึ่งเป็นแอปของ Epic ออกจากตัวแพลตฟอร์ม เพราะตัวแอปทำการสร้างช่องทางการซื้อขายของภายในแอปพลิเคชันโดยไม่ผ่านผู้ให้บริการขึ้นมา ซึ่งถือว่าผิดนโยบายของทั้ง 2 ผู้ให้บริการ แต่เรื่องกลับไม่จบ เมื่อทาง Epic ไม่ยอม พร้อมเดินเรื่องฟ้องทั้ง Apple และ Google เพียงแต่ทาง Google ทำการแยกตัวออกมาแก้ไขปัญหาของตนเองโดยเฉพาะ เพราะความแตกต่างด้านรูปแบบธุรกิจของตนและ Apple นั้นไม่เหมือนกัน ทาง Google จึงได้ออกนโยบายดังกล่าวออกมาเพื่อแ้ไขปัญหาทีเกิดชึ้น
ปัจจุบัน Google อนุญาตให้มีแพลตฟอร์มติดตั้งแอปอื่นบนแพลตฟอร์มของตนเองได้แล้ว ในขณะที่ทาง Apple ไม่อนุญาตให้มีแพลตฟอร์มติดตั้งแอปของบุคคลที่สามบนแพลตฟอร์มของตนเองเลย
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
ที่มาข้อมูล : -