นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีการรีไซเคิลเซลล์แสงอาทิตย์ลดขยะให้โลก

นักวิทยาศาสตร์ในสวีเดนพัฒนาวิธีการรีไซเคิลโซลาร์เซลล์ หรือเซลล์พลังแสงอาทิตย์ชนิด เพอรอฟสไกต์ (PSCs) ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้ ที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีการรีไซเคิลเซลล์แสงอาทิตย์ลดขยะให้โลก

สรุปข่าว

นักวิจัยในสวีเดน พัฒนาวิธีการใหม่ในการจัดการกับขยะโซลาร์เซลล์ โดยได้คิดเทคโนโลยีใหม่คัดเอาวัสดุเดิมมารีไซเคิลเป็นโซลาร์เซลล์แผงใหม่ ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

เซลล์พลังแสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ หรือ เพอรอฟสกี้ (PSCs) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีกระบวนการผลิตที่น้อยลง ต้นทุนต่ำ เมื่อเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิกอนที่มักพบเห็นการใช้งานทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถทำให้เบาและบางลงได้ รวมถึงมีความยืดหยุ่นสูง


อย่างไรก็ตามปัจจุบันวิธีการกำจัดเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่ใช้แล้ว มักจะจบลงที่การฝังกลบ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากร และก่อให้เกิดปัญหาขยะมลพิษทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลินเชอปิง (Linköping University)ในสวีเดน จึงได้พัฒนาแนวทางการรีไซเคิล ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 


โดยทีมวิจัยระบุว่า พวกเขาสามารถรีไซเคิลแยกเอาส่วนประกอบที่มีคุณค่าจากขยะเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์รอฟสไกต์เก่าออกมาได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ใช้น้ำในการละลาย และคัดแยกเอา เพอร์รอฟสไกต์ (perovskites) ซึ่งเป็นกลุ่มของวัสดุที่มีโครงสร้างผลึกคล้ายกับแคลเซียมไททาเนต (CaTiO3) คุณภาพสูง ออกมาจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เสื่อมโทรม


จากนั้นพวกเขาจะใช้ส่วนประกอบที่ได้มาจากการรีไซเคิล มาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสกี้อันใหม่ ซึ่งเคลมว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันกับแบบที่ไม่ได้ผ่านการรีไซเคิล กลยุทธ์ดังกล่าว ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรได้ร้อยละ 96.6 และลดผลกระทบด้านมลพิษต่อมนุษย์ได้ถึงร้อยละ 68.8 เมื่อเทียบกับการจัดการขยะเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการฝังกลบแบบเดิม

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ (Nature) และทีมวิจัยกำลังอยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงการขยายขนาดเพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้น


ข้อมูลจาก

https://www.reutersconnect.com/all?channel=mUo350&id=tag%3Areuters.com%2C2025%3Anewsml_RW395524022025RP1%3A4&media-types=vid


https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/111-perovskites-solar-cells-replace-panels#:~:text=%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AD,%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%20%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94


https://sciencejournal.pbru.ac.th/phocadownloadpap/2020_1/08-DEVELOPMENT-OF-PEROVSKITE-SOLAR-CELLS-USING-COPPER-OXIDE-HOLE-TRANSPORTING-DOUBLE-LAYERS.pdf

ที่มาข้อมูล : Reuters / Linköping University

ที่มารูปภาพ : Reuters / Linköping University