Figure เปิดตัว Helix ระบบ AI ใหม่ปฏิวัติหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์

ฟิกเกอร์ (Figure) บริษัทสตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ล้ำสมัย Helix ซึ่งจะช่วยให้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างซับซ้อน ผ่านการสั่งการด้วยเสียง โดยล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เบร็ตต์ แอดค็อก (Brett Adcock) CEO ของฟิกเกอร์ (Figure) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ฮีลิกซ์ (Helix) สามารถรับคำสั่งด้วยเสียงและสามารถช่วยงานบ้านให้เขาได้ และมองว่าการพัฒนานี้เป็นก้าวสำคัญสำหรับการขยายขนาดหุ่นยนต์เพื่อใช้งานในบ้าน เนื่องจาก Helix สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งโปรแกรมใหม่สำหรับแต่ละงาน 

Figure เปิดตัว Helix ระบบ AI ใหม่ปฏิวัติหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์

สรุปข่าว

ฟิกเกอร์ สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ได้เปิดตัวระบบ AI ใหม่ที่เรียกว่า Helix ซึ่งช่วยให้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์สามารถเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนได้ผ่านคำสั่งเสียง โดยระบบนี้มีความสามารถในการจัดการกับวัตถุที่ไม่คุ้นเคยโดยไม่จำเป็นต้องฝึกฝนเฉพาะสำหรับแต่ละชิ้น Helix ทำงานโดยการผสานส่วนประกอบ AI สองส่วนหลักเข้าด้วยกัน ส่วนแรกคือแบบจำลองภาษาหลายรูปแบบขนาด 7 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งประมวลผลทั้งข้อมูลเสียงและภาพด้วยความถี่ 7-9 เฮิรตซ์ ทำหน้าที่เป็น "สมอง" ของหุ่นยนต์ ส่วนที่สองคือ AI ขนาด 80 ล้านพารามิเตอร์ ที่แปลงคำสั่งจากแบบจำลองภาษาไปเป็นการเคลื่อนไหวที่แม่นยำของหุ่นยนต์ ด้วยความถี่ 200 เฮิรตซ์ ความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ก้าวหน้านี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานบ้านในอนาคต

ฮีลิกซ์ (Helix) ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลภาพและข้อความภาษาเพื่อควบคุมหุ่นยนต์แบบเรียลไทม์ โดยฟิกเกอร์ (Figure) อ้างว่า "Helix สามารถทำความเข้าใจวัตถุที่มีลักษณะแข็ง โดยสามารถหยิบสิ่งของในครัวเรือนที่ไม่เคยพบมาก่อน หรือไม่มีข้อมูลในระบบ โดยคำสั่งที่เป็นภาษาธรรมชาติ" แพลตฟอร์มนี้ออกแบบมาเพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างการประมวลผลการมองเห็นและภาษา หลังจากได้รับข้อความเสียงภาษาธรรมชาติแล้ว หุ่นยนต์จะประเมินสภาพแวดล้อมด้วยสายตาแล้วจึงทำงานนั้น ๆ 

ฮีลิกซ์ (Helix) ทำงานโดยการผสานส่วนประกอบปัญญาประดิษฐ์ AI สองส่วนหลักเข้าด้วยกัน โดยส่วนแรกคือแบบจำลองภาษาหลายรูปแบบขนาด 7 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งประมวลผลทั้งข้อมูลเสียงและภาพด้วยความถี่ 7-9 เฮิรตซ์ ทำหน้าที่เป็น "สมอง" ของหุ่นยนต์ และส่วนที่สองคือ ปัญญาประดิษฐ์ AI ขนาด 80 ล้านพารามิเตอร์ ที่จะแปลงคำสั่งจากแบบจำลองภาษาไปเป็นการเคลื่อนไหวที่แม่นยำของหุ่นยนต์ ด้วยความถี่ 200 เฮิรตซ์ 

รองรับควบคุมองศาอิสระได้ถึง 35 องศา ทำให้สามารถจัดการการเคลื่อนไหวได้หลากหลาย ตั้งแต่การขยับนิ้วมือแต่ละนิ้ว ไปจนถึงการควบคุมศีรษะและลำตัว โดยระบบนี้ถูกฝึกฝนเพียง 500 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าโครงการอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างมาก รวมถึงยังสามารถทำงานบน GPU ที่ฝังอยู่ในตัวหุ่นยนต์ได้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์

การเปิดตัวครั้งนี้เกิดขึ้นสองสัปดาห์หลังจากที่เบร็ตต์ แอดค็อก CEO ของฟิกเกอร์ (Figure) ตัดสินใจประกาศการยุติความร่วมมือกับบริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ในด้านการพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับหุ่นยนต์ แต่บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อยู่ในบริษัท ฟิกเกอร์ (Figure) โดยวิสัยทัศน์ของบริษัทฟิกเกอร์ (Figure) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแบบจำลอง AI ของตนเอง เพื่อการควบคุมหุ่นยนต์ด้วยความเร็วสูงในสถานการณ์จริง 

ในขณะเดียวกัน บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ก็ดูเหมือนจะกลับมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์อีกครั้ง โดยปัจจุบันมีการรับสมัครวิศวกรฮาร์ดแวร์สำหรับทีมหุ่นยนต์ใหม่ หลังจากที่เคยปิดแผนกหุ่นยนต์ไปก่อนหน้านี้

แท็กบทความ