ปี 2568 อากาศเย็นสุดขีด แต่อาจร้อนสุดขั้ว

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat เรื่อง ปี 2568 อากาศเย็นสุดขีด..แต่อาจร้อนสุดขั้ว 

ปี 2568 อากาศเย็นสุดขีด แต่อาจร้อนสุดขั้ว

สรุปข่าว

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมชี้ ปี 2568 อากาศเย็นสุดขีด แต่อาจร้อนสุดขั้วได้เช่นกัน

โดยระบุข้อความว่า ข้อมูลจาก อุตุนิยมวิทยาโลกหรือ WMO  พบว่าในเดือน มกราคม 2025 เฉลี่ยทั่วโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง1.75 องศาเซลเซียส ซึ่งเกินจากระดับที่โลกกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาไปแล้ว)และมีระดับเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นถึง 0.79 องศาเซลเซียสจากปี1991- 2020 ทั้งๆที่อยู่ในช่วงปลายของสภาวะLa Nina ที่ทำให้อากาศเย็นลง สาเหตุสำคัญมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกในปี 2024 ถึง 37,400ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.8% จากปี 2023 ซึ่งในปี 2024 เป็นปีที่มีการปล่อยเรือนก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยมีมา

นักวิทยาศาสตร์จาก Berkeley Earth and the United Kingdom Met Office คาดการณ์ว่าในปี 2025จะเป็นปีที่มีอากาศร้อนสูงสุดเป็นลำดับที่ 3รองจากปี 2024 และ ปี2023เท่านั้น เพราะมีภาวะลานิญามาช่วยบ้าง

แต่อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น จะทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว เกิดขึ้นได้บ่อย(Extreme Weather)ก่อให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ลมพายุรุนแรงเกิดบ่อยครั้ง ฝนตกหนักกว่าปกติ ในฤดูหนาวเกิดอากาศหนาวเย็นอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ภัยธรรมชาติต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ

โดยปี 2024 ประเทศไทยอยู่สภาวะลานีญากำลังแรง มีฝนตก น้ำท่วมหนัก แต่ในเดือนเมษายน-พฤษภาคมกลับมีอุณหภูมิสูงสุงถึง 45.0 องศาฯ ส่วน ปี 2023 อุณหภูมิของประเทศไทยสูงสุดที่ 44.6 องศาฯ ขณะที่ปี 2025 ลานีญาอ่อนกำลังลงและเข้าสู่ภาวะเป็นกลางระหว่างลานีญาและเอลนีโญ ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนสูงสุดไม่ต่ำกว่า44องศาในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม


ทั้งนี้ โลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี 2567 คาดว่าปี 2568 อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยจะไม่ต่ำกว่า 44 องศา ซึ่งมีค่าสูงสุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากปี 2567 และ 2566 เท่านั้น