TNN มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?

TNN

TNN Exclusive

มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?

มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?

มะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มต้นไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีอาจจะลุกลามรุนแรง ?  ข่าวนี้จริงไหม  TNN EXCLUSIVE จะพาไปคลายข้อสงสัย ไขคำตอบ กับพญ.ณัฐชา พูลเจริญ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?

"ฟังแล้วดูน่ากังวลแต่เป็นเรื่องจริง" พญ.ณัฐชา พูลเจริญ กล่าว โดยชี้แจงว่าระยะเริ่มต้นส่วนมากจะไม่มีอาการ ในกรณีที่อยู่ในระยะลุกลาม อาการที่พบบ่อย เช่น เลือดออกทางช่องคลอดโดยเฉพาะหลังจากมีเพศสัมพันธ์  ในกรณีที่กระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง อาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะหรืออุจจาระผิดปกติ ขึ้นอยู่กับว่าตัวก้อนมะเร็งลามไปที่อวัยวะใด



มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?


เมื่อไม่มีอาการจะต้องทำอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยง ?

ข้อดีของมะเร็งปากมดลูก คุณหมอบอกว่า จะมีช่วงระยะก่อนเป็นมะเร็ง เริ่มมีรอยโรคหรือเซลล์ที่ผิดปกติ แต่ยังไม่ใช่มะเร็ง หากตรวจเจอตั้งแต่ระยะนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้เกือบ 100% การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เริ่มตั้งแต่ อายุ 25 ปี 

มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?


การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันมีหลายวิธี 

การตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายไม้พาย เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนนำส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน

การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test)
พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยมีข้อมูลการศึกษาวิจัยจากสถาบันทั่วโลกพบว่า จากการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Thin prep จะให้ผลละเอียดกว่าการตรวจแบบเก่าวิธีแปปเสมียร์

มะเร็งปากมดลูกไม่มีอาการ  รู้ตัวอาจลุกลามรุนแรง ?


การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก ร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีกว่าการตรวจ Pap smear อย่างเดียว คือสามารถเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ ซึ่งจะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝงได้เป็นอย่างดี
 


เขียนข่าว
เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ 
ผู้สื่อข่าว คอลัมน์ ข่าวนี้จริงไหม ?

ภาพจาก
getty images
ช่างภาพTNN ช่อง16


#มะเร็งปากมดลูก #hpv #โรคสตรี #หมอสูตินรีเวช #หมอจุฬา #สุขภาพดี #ข่าวนี้จริงไหม #tnnthailand #tnnthailand #tnn 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง