TNN เหตุใด "กากี" เป็นสีเครื่องแบบราชการไทย เกี่ยวข้องกับ "อีกา" หรือไม่? | Chronicles

TNN

TNN Exclusive

เหตุใด "กากี" เป็นสีเครื่องแบบราชการไทย เกี่ยวข้องกับ "อีกา" หรือไม่? | Chronicles

เหตุใด กากี เป็นสีเครื่องแบบราชการไทย เกี่ยวข้องกับ อีกา หรือไม่? | Chronicles

เหตุใดเครื่องแบบราชการของไทย จึงต้องเป็นสีกากี เป็นสีอื่นได้หรือไม่? และที่สำคัญ กากีที่ว่านี้ เกี่ยวข้องอะไรกับ “อีกา” ที่มีตัวสีดำสนิทหรือไม่อย่างไร?

หากกล่าวถึง “กากี” เชื่อได้เลยว่าภาพที่เด้งขึ้นมาในหัว ต้องเป็นเรื่องของ “ราชการ”  เพราะเครื่องแบบนั้นส่วนใหญ่เป็นสีกากี พบเห็นได้ในวันจันทร์ หรือเนื่องในโอกาสวันสำคัญของประเทศ


คำถามคือ เหตุใดเครื่องแบบราชการของไทย จึงต้องเป็นสีกากี เป็นสีอื่นได้หรือไม่? และที่สำคัญ กากีที่ว่านี้ เกี่ยวข้องอะไรกับ “อีกา” ที่มีตัวสีดำสนิทหรือไม่อย่างไร?


หลักฐานทางนิรุกติศาสตร์ (Etymology) ชี้ว่า กากีมาจากภาษาเปอร์เซีย “خاک [χɒːk]” อ่านออกเสียงว่า “กาก” หมายถึง “ดิน” ซึ่งเป็นศัพท์ที่อังกฤษยืมมาใช้อธิบายสีย้อมผ้าที่จะออกเขียวก็ไม่ใช่ ออกน้ำตาลก็ไม่เชิง สีทองก็ไม่ชัด เลยเรียกว่าสีกากี


กางเกงสีกากีเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษยุคศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะข้าราชการทหาร ที่ใส่กันมาทำงานและไปรเวท แต่ที่แพร่กระจายถึงประเทศไทยได้นั้น เพราะทหารอังกฤษที่ประจำการใน “บริทิชราช (หรือบริเวณอินเดียและเมียนมาร์ในปัจจุบัน)” ใส่กันเป็นเครื่องแบบ


งานศึกษา Army Uniform and the First World War: Men in Khaki เขียนโดย เจน ไทแนน  ชี้ชัดว่า อังกฤษเรียนรู้ว่า เครื่องแบบทหารชุดแดงกางเกงขาว ไม่เหมาะกับใส่ในบริทิชราชที่มีสงครามยิบย่อย เพราะเครื่องแบบจะโดดเด่นเกินไป ดังนั้น การใส่กากีทั้งชุดจึงตอบโจทย์มากที่สุด


แน่นอน สมัยนั้นอังกฤษคือผู้นำกระแส แล้วเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสบริทิชราช ได้เห็นความอารยะอย่างการใส่เครื่องแบบ จึงนำเข้ามาใช้เป็นเครื่องแบบของข้าราชการไทย ซึ่งมาพร้อม ๆ กับการออกแบบชุด “ราชประแตน” ที่เราคุ้นเคย


ส่วนกากี เกี่ยวข้องกับอีกาหรือไม่นั้น ต้องบอกว่าเป็นศัพท์ “พ้องรูป” กันเฉย ๆ ในภาษาเปอร์เซีย กาก หมายถึง ดิน แต่ในภาษาบาลี กาก หมายถึง กาตัวผู้ และกากี หมายถึง “กาตัวเมีย” 


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]

แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ