TNN ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

TNN

TNN Exclusive

ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

ข้าวจำนำ 10 ปี ยังคุณภาพดี รัฐพิสูจน์ ย้ำความเชื่อมั่นเกษตรกรและประชาชน



โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ดำเนินการมาอย่างยาวนาน แม้จะมีเจตนารมณ์ดีในการช่วยเหลือและพยุงราคาข้าวให้กับเกษตรกร แต่กลับประสบปัญหาจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่คลาดเคลื่อน ส่งผลให้มีข้าวคงค้างในโกดังของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก กลายเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ ฝ่าย ทั้งในแง่ของภาระทางการคลัง ผลกระทบต่อการส่งออกข้าว และคุณภาพของข้าวที่เก็บไว้เป็นระยะเวลานาน


ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

ล่าสุด รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชน ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้เข้าร่วมตรวจสอบคุณภาพข้าวในโครงการรับจำนำ ณ คลังสินค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นข้าวที่ถูกเก็บรักษาไว้ในโกดังของรัฐบาลมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี การเปิดให้เข้าตรวจสอบในครั้งนี้ ถือเป็นความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากทุกภาคส่วนต่อการบริหารจัดการข้าวของภาครัฐ

ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ


นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมตรวจสอบและทดสอบคุณภาพข้าวด้วยตนเอง โดยให้ข้อมูลว่า ม้ข้าวจะมีอายุการเก็บรักษานานถึง 10 ปี แต่เมื่อนำมาตรวจสอบ กลับพบว่า เมล็ดข้าวยังคงสวยงาม มีกลิ่มหอม แม้จะมีสีเหลืองอ่อนตามธรรมชาติของข้าวเก่า และเมื่อนำไปหุงรับประทาน ข้าวมีความนุ่ม รสชาติอร่อย ไม่พบร่องรอยการเจาะทำลายของแมลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ข้าวในโครงการรับจำนำที่เก็บรักษาไว้อย่างดี ยังคงรักษาคุณภาพไว้ได้อย่างน่าพอใจ โดยผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวที่ได้ร่วมตรวจสอบและชิมข้าว ต่างเห็นตรงกันว่า หากมีการนำข้าวไปผ่านกระบวนการขัดเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงสีของข้าวแล้ว ตลาดส่งออกน่าจะยอมรับข้าวนี้ได้


เก็บรักษาอย่างมีมาตรฐาน มั่นใจได้ในความปลอดภัย


การที่ข้าวเก่าอายุ 10 ปี ยังสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ดี ปลอดภัยต่อการนำมาบริโภค เป็นผลมาจากการควบคุมจัดการโกดังและสภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาข้าวอย่างเข้มงวด ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิ การระบายอากาศในโกดังอย่างเหมาะสม ป้องกันไม่ให้มีความชื้นหรือน้ำรั่วซึมเข้าโกดัง มีการรมยาเพื่อกำจัดแมลงอย่างสม่ำเสมอ โดยข้าวในโกดังกิตติชัย จะมีการรมยาทุก 2 เดือน และข้าวในโกดังพูนผล จะมีการรมยาทุกเดือน 

ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเอกสารวิชาการของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง "การจัดการโรงเก็บข้าวเพื่อรักษาคุณภาพ" (2558) ก็ได้ระบุถึงแนวทางปฏิบัติในการเก็บรักษาข้าวให้มีอายุยาวนานได้ถึง 10 ปี โดยจำเป็นต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโกดังอย่างเหมาะสม รักษาอุณหภูมิในช่วง 15-20 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% มีการระบายอากาศและป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งต้องมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพข้าวตลอดช่วงระยะเวลาที่เก็บรักษา ซึ่งสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติของการเก็บรักษาข้าวในโครงการรับจำนำดังกล่าว



ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ


ฟื้นฟูความศรัทธา! ข้าวเก่า 10 ปี รัฐบาลนำออกสู่ตลาด พัฒนาภาคการเกษตร


ความสำเร็จของการเก็บรักษาข้าวให้มีคุณภาพดีแม้จะผ่านมานาน 10 ปี สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้าวของภาครัฐ เป็นการยืนยันต่อเกษตรกรและประชาชนได้ว่า ข้าวในโครงการนี้ยังมีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อการบริโภค สามารถนำออกสู่ตลาดได้ โดยรัฐบาลมีแผนที่จะนำข้าวกว่า 150,000 กระสอบ จาก 2 โกดังนี้ออกประมูลภายในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ราคากลาง 18 บาท/กก. เพื่อระบายสต๊อกข้าวเก่า สร้างรายได้ให้กับรัฐ และนำเงินส่วนหนึ่งไปจ่ายคืนเจ้าของโกดัง ถือเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรข้าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ


ข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้ รัฐจัดการโกดังอย่างไร? ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ

การแก้ไขปัญหาข้าวคงค้างในโครงการรับจำนำข้าวอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการนำข้าวออกสู่ตลาดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า รวมถึงความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อการทำงานของภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด ไม่ปล่อยให้ข้าวเสื่อมคุณภาพหรือเสียหาย ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการฟื้นฟูความศรัทธาของเกษตรกรและประชาชนที่มีต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรและโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการดูแลเกษตรกรและพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศต่อไปในอนาคต




ภาพ กระทรวงพาณิชย์ 

ข่าวแนะนำ