TNN Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”

TNN

TNN Exclusive

Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”

Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”

ช่วงเดือนที่ผ่านมา วิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ “เดือด” ที่สุด แน่นอนว่าต้องเป็น “อิสราเอล-อิหร่าน” สืบเนื่องจากการโจมตีสถานกงสุลของอิหร่านที่กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ของอิสราเอล

และไม่นานก็มีการตอบโต้ด้วยมิสไซล์กว่า 300 ลูกจากอิหร่าน แต่อิสราเอลพร้อมทั้งพันธมิตรอาหรับอีกจำนวนหนึ่ง ช่วยยิงสกัดและเปิดใช้งานเครื่องป้องกัน Iron Dome ไปกว่า 99%


ตะวันออกกลางยังร้อนระอุมานานแล้ว สงคราม “อิสราเอล-ฮามาส” ที่ยังคงมีการปะทะกันอยู่เนือง ๆ 


แต่หากพิจารณาในภาพกว้าง จะพบว่า ดินแดนตะวันออกกลางเต็มไปด้วยปัญหาด้าน “ความขัดแย้ง” ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน อย่างน้อย ๆ ก็สามารถสืบสาวราวเรื่องได้ถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 1


สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจตามมาว่า หรือตะวันออกกลางต้อง “ไร้ความสงบ” ชั่วกาลปาวสานเลยหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิด “สันติภาพถาวร” ในภูมิภาคนี้ 


ทางออกสันติภาพ 3 แนวทาง?


ในงานเสวนา “จากปาเลสไตน์สู่อิหร่าน - อิสราเอล : หรือจะไร้สันติภาพในตะวันออกกลาง” ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันพิจารณาและประเมินสถานการณ์ในตะวันออกกลาง


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”  

Credit: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”

โดยมีความน่าสนใจในการให้ข้อเสนอ ใน “3 แนวทาง” การสร้างสันติภาพ ดังต่อไปนี้


1. สุดแท้แต่ดุลแห่งอำนาจจะพาไป


ในแนวทางแรก ผศ.ดร. อาทิตย์ ทองอินทร์

อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เสนอว่า ต้องพิจารณา “ดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power)” เป็นสำคัญ นั่นเพราะ ตามตำราความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากรัฐใดประเทศหนึ่งในภูมิภาค มีแนวโน้มที่จะขึ้นมาเป็นมหาอำนาจประจำถิ่น ย่อมสร้าง “ความวิตก (Anxiety)” ให้เกิดขึ้นกับบรรดารัฐอื่น ๆ ในภูมิภาคนั้น 


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”


โดยเฉพาะ รัฐที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับรัฐก่อนหน้า แต่ไม่สามารถไปให้ถึงการเป็นมหาอำนาจได้ ย่อมต้องรู้สึกว่า รัฐก่อนหน้านั้นเป็น “ภัยคุกคาม” 


อิสราเอลและอิหร่านคือตัวอย่างที่เด่นชัด ณ จุดนี้ อิหร่านครองอำนาจมาตั้งแต่เปอร์เซีย ส่วนอิสราเอลเป็นประเทศเกิดใหม่ แต่กลับมีแสนยานุภาพที่ล้ำกว่า และกลายเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลาง อิหร่านย่อมยอมไม่ได้ และมีปัญหาบาดหมางกันตลอดมา ทั้งที่เป็นและไม่เป็นประเด็นให้เราเห็น


นั่นทำให้การสร้างสันติภาพ ขึ้นอยู่กับว่าดุลแห่งอำนาจของใครมีมากกว่ากัน


2. สร้างสันติภาพชั่วคราวด้วยมหาอำนาจ 


แนวทางต่อมา ผศ.ดร. มาโนชญ์ อารีย์

ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ เสนอว่า เป็นเรื่องของ “การช่วยเหลือของมหาอำนาจ” จาก “ล็อบบี้ยีสต์ (Lobbyist)” ของบรรดาชาวยิวในสหรัฐอเมริกา ที่ส่วนใหญ่เป็น “นายทุน” ของพรรคการเมืองสองขั้ว จะทำการไปบีบเค้นให้ทางการสหรัฐฯ เข้ามาเป็น “เงื่อนไขสำคัญ” ในการที่จะสร้างแต้มต่อให้อิสราเอล และทำให้บรรดาโลกอาหรับที่เป็นปฏิปักษ์ต้อง “ชะงักงัน” ในการที่จะโจมตีอิสราเอล


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”


ดังที่เราจะเห็นได้จาก ความพยายาม “โยนหินถามทาง” ของเบนจามิน เนทันยาฮู นายกฯ อิสราเอล ในการเรียกร้องให้สหรัฐฯ “เข้าร่วมสงครามแบบเต็มที่” หากแต่ในท้ายที่สุด สหรัฐฯ เลือกสงวนท่าที 


การหาพันธมิตรเป็มมหาอำนาจนี้ แน่นอนว่า จะทำให้ดุลอำนาจของอิสราเอลมีมากขึ้น แม้ทำให้เกิด “สันติภาพแม้เพียงชั่วคราว” ก็ตาม


3. มหาอำนาจกลางช่วยเจรจาสันติภาพ


ส่วนแนวทางท้ายสุด ศ.ดร. จรัญ มะลูลีม

กีรตยาจารย์แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า เป็นเรื่องของ “การเจรจาสันติภาพ” ซึ่งจะกระทำการได้ต้องมี “สื่อกลาง” ในการเจรจาแบบ “Third-party” คือไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ ต่อทั้งสองคู่ขัดแย้ง ซึ่งส่วนมากนั้น มักจะเป็น “มหาอำนาจกลาง (Middle Power)” ที่มักจะเข้ามามีเอี่ยวเป็นเจ้าภาพในการเจรจานั้น ๆ เสมอ



Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: “สันติภาพ” ในตะวันออกกลางเกิดขึ้นได้หรือไม่ หรือจะขัดแย้ง “ชั่วกาลปาวสาน”


และในท้ายที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ที่มีประสบการณ์ในฐานะ “ผู้ไกล่เกลี่ย” มาอย่างยาวนาน อาทิ การเจรจาสันติภาพ สิงหล-ทมิฬ ทั้งยังไม่มีความขัดแย้งกับประเทศหนึ่งประเทศใดในภูมิภาคดังกล่าวโดยตรง ก็มีโอกาสที่เข้ามามีบทบาทดังกล่าว ในความขัดแย้งที่ยาวนานฝังรากลึกนี้ได้เช่นเดียวกัน

ข่าวแนะนำ