"ค่าไฟแพง" รวมเทคนิคอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัด "ค่าไฟ-ค่าน้ำ" ทำตามได้ไม่ยาก ได้ผลจริง!
มัดรวมวิธี "ประหยัดค่าไฟ และ ค่าน้ำ" ทำตามได้ไม่ยาก แถมได้ผลจริง ทุกบ้านควรรู้ ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า สบายใจ หายห่วง
ยุคค่าไฟแพง เป็นอันที่ทราบกันดีแล้วว่า ค่าไฟ หรือ ค่าเอฟที รอบเดือนก.ย. - ธ.ค. 2565 จะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็นค่าเอฟทีทั้งสิ้น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋า TNN Online ได้รวบรวมวิธีการประหยัดค่าไฟฟ้า สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆภายในบ้าน ทำง่ายได้ผลจริง รวมถึงวิธีการประหยัดน้ำ ไปดูกันเลย
วิธการประหยัดไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แนะนำดังนี้
ไฟฟ้าแสงสว่าง
-ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
-เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
-สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
-ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
-พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว
-ควรถอดปลั๊กอุปกรณ์ให้แสงสว่างเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
-ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด
-ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
-หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
-หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก
-หลอด LED ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และให้แสงสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดใส้
เตารีด
-เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
-ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
-ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
-อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
-ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
-ควรพรมน้ำพอสมควร
-ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
-ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
-ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
-ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
-ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น
พัดลม
-เปิดความเร็วลมพอควร
-เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
-ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้
เครื่องเป่าผม
-เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
-ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า
เครื่องดูดฝุ่น
-ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ
ตู้เย็น ตู้แช่
-ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
-นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
-ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
-ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
-หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
-เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
-ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
-ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
-ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
-ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น
-ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
-หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
-หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
-ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
-ควรถอดเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
-อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
-หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
-ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
-ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว
-ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
-ควรปิดฝาให้สนิทขณะหุงข้าว
เครื่องสูบน้ำ
เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้
-ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
-ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
-ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
-ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
-ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
-หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
-เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป
เครื่องซักผ้า
-ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
-ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก
-ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
-หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
-หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด
มอเตอร์ไฟฟ้า
-ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
-ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
-พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์
เตาอบ เตาไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำ
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ
-ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
-ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
-ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
-ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
-ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
-ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
-ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
-ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา
เครื่องทำน้ำอุ่น
-ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
-ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
-หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
-ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
-ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
-ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
-ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
--ปรับความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
-ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
-ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
-ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์
เครื่องปรับอากาศ
การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
-ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
-ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก
-ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
-ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง
-ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
-ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก
-ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน
-ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา
-ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน
-ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
-ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล
-พิจารณาติดตั้งบังแสงหรือกันแดด เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง
-ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก
-ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ
ขณะที่ การไฟฟ้านครหลวง แนะอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ ดังนี้
1.ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน
2.ใช้หลอดไฟแบบ LED
3.เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ 26 °C แต่หากต้องการความรู้สึกเย็นสบายเท่ากับ 24°C ให้เปิดพัดลมช่วย โดยไม่ต้องลดอุณหภูมิของแอร์
4.รีดผ้าครั้งละมาก ๆ ไม่ควรรีดบ่อย ๆ
5.ปิดโทรทัศน์ และถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน และไม่ควรปิดด้วยรีโมท
6.จัดระเบียบตู้เย็นให้เหมาะสม และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ไม่เปิดทิ้งไว้นาน ๆ
7.ทิ้งฝุ่นในถุงเครื่องดูดฝุ่นทุกครั้ง เพื่อให้มีแรงดูดดี
ด้าน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้เคยเผยข้อมูลว่า หากเลือกใช้แอร์หรือเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว จะช่วยประหยัดเงินค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น
อัตราค่าไฟฟ้าตามระดับประสิทธิภาพ
-เบอร์ 5 : แบบธรรมดา อัตราค่าไฟฟ้า 917.12 บาท/เดือน
-เบอร์ 5 : แบบ 1 ดาว ★ อัตราค่าไฟฟ้า 850.90 บาท/เดือน
-เบอร์ 5 : แบบ 2 ดาว ★★ อัตราค่าไฟฟ้า 793.60 บาท/เดือน
-เบอร์ 5 : แบบ 3 ดาว ★★★ อัตราค่าไฟฟ้า 743.53 บาท/เดือน
เพราะฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ดาวยิ่งมาก ยิ่งประหยัดไฟ ดังนั้นหากทุกคนหันมาใช้แอร์หรือเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว พร้อมทำตามวิธีประหยัดไฟฟ้า
เช่น เปิดอุณหภูมิ 26 -27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่กัน จะช่วยประหยัดค่าไฟและเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น ที่สำคัญยังถือเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานในปัจจุบันอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าคำนวณจาก เครื่องปรับอากาศ Fixed Speed 12,000 บีทียู/ชั่วโมง และอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.96 บาท
คำนวณค่าไฟฟ้า
ระบบประมาณการค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คลิก
การคิดค่าไฟฟ้าประเภทต่างๆ การไฟฟ้านครหลวง คลิก
how to การใช้น้ำอย่างประหยัด
การประปานครหลวง เผย จากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่ทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง การใช้น้ำอย่างประหยัด โดยใช้เท่าที่จำเป็น
และให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอ มาร่วมสร้างจิตสำนึกในการใช้น้ำ ทุกที่ ทุกเวลา
โดยเริ่มจากภายในบ้านของเราเองด้วยวิธีง่ายๆดังนี้
-ปิดน้ำระหว่างล้างมือ สระผม ฟอกสบู่ และเปลี่ยนมาใช้ฝักบัวรูยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำ
-ใช้แก้วรองน้ำสำหรับแปรงฟัน ประหยัดน้ำได้มากกว่าใช้มือรองน้ำ
-ใช้ภาชนะรองน้ำ เพื่อล้างผักและผลไม้ แล้วนำน้ำสุดท้ายไปรดน้ำต้นไม้ด้วยบัวรดน้ำ หรือถูพื้นนอกบ้าน
-ใช้กระดาษเช็ดคราบอาหารก่อนล้างจาน โดยล้างทำความสะอาดพร้อมกันในอ่าง ประหยัดน้ำกว่าเปิดล้างผ่านก๊อกโดยตรง
-รวบรวมปริมาณเสื้อผ้าให้มากเพียงพอก่อนซักผ้า แล้วใช้เครื่องซักผ้าโหมดประหยัดพลังงาน (ECO) ประหยัดน้ำ
-รองน้ำใส่ถังเพื่อล้างรถลดการใช้น้ำได้มากกว่าการใช้สายยาง 20-50 %
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กกพ. ได้โพสต์ไขข้อสงสัย 4 สาเหตุหลักทำไมค่าเอฟทีจึงปรับเพิ่มขึ้น การขึ้นค่าเอฟทีในช่วงปี 2565-2566 นี้มีสาเหตุหลักๆ มาจากสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดจร (Spot LNG) ที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและพม่าที่ปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญรวมทั้งความผันผวนของ Spot LNG ในตลาดโลกสรุปได้ ดังนี้
(1) ปริมาณก๊าซในประเทศที่ลดลง จากเดิมสามารถจ่ายก๊าซได้ 2,800 – 3,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (MMSCFD) ลดลงเหลือราว 2,100 – 2,500 MMSCFD ทำให้ต้องนำเข้า Spot LNG เข้ามาเสริมหรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้าด้วยน้ำมันเพื่อทดแทนปริมาณก๊าซที่ขาด แต่ในช่วงสงครามรัสเซีย - ยูเครน ส่งผลให้ราคา Spot LNG มีราคาแพงและผันผวนในช่วงประมาณ 25-50 USD/MMBTU เทียบกับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีราคาประมาณ 6-7 USD/MMBTU ดังนั้นการทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยด้วย LNG หรือใช้น้ำมันจะส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
(2) การผลิตก๊าซจากพม่าที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำลังการผลิตเดิมและมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2565 และต้นปี 2566 ซึ่งอาจทำให้มีความต้องการนำเข้า LNG มากกว่าที่ประมาณการไว้เดิม
(3) สถานการณ์ผู้ผลิต LNG ชะลอการลงทุนอันเนื่องมาจากมีความต้องการใช้พลังงานน้อยในช่วงโควิด-19 ในปลายปี 2564 หลังจากที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากโควิดทำให้ความต้องการใช้ LNG มีมากกว่ากำลังการผลิตในตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อราคาและการเจรจาสัญญาซื้อขาย LNG โดยเริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2564 และต่อเนื่องตลอดปี 2565 และคาดว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2566
(4) สภาวะสงครามรัสเซีย - ยูเครน ทำให้รัสเซียลดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ทำให้ความต้องการ LNG เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุโรปและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย
ความไม่แน่นอนของแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศและในพม่า รวมทั้งสภาวะตลาดที่ไม่เอื้อต่อการเจรจาสัญญา LNG ทำให้ กกพ. ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อใช้เชื้อเพลิงสำรอง เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่น เช่น ถ่านหิน พลังน้ำ และพลังงานทดแทน เพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องจากปลายปี 2565 และต่อเนื่องไปตลอดปี 2566
ตามแนวทางการบริหารเชื้อเพลิงในสภาวะวิกฤตที่ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไปแล้ว กกพ. จึงขอให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ลดการนำเข้า Spot LNG และเพิ่มความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงดังกล่า
ภาพจาก TNN Online / MEA