TNN AI พยากรณ์อากาศจาก DeepMind แจ้งเตือนว่าฝนจะตกหรือไม่ ล่วงหน้าใน 2 ชั่วโมง

TNN

Tech

AI พยากรณ์อากาศจาก DeepMind แจ้งเตือนว่าฝนจะตกหรือไม่ ล่วงหน้าใน 2 ชั่วโมง

AI พยากรณ์อากาศจาก DeepMind แจ้งเตือนว่าฝนจะตกหรือไม่ ล่วงหน้าใน 2 ชั่วโมง

AI พยากรณ์อากาศในปัจจุบันล้ำกว่าที่คุณคิด ถึงขนาดแจ้งเตือนก่อนฝนจะตกได้ล่วงหน้าใน 2 ชั่วโมงได้

เทคโนโลยี AI ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปไกลกว่าที่คุณคิดไว้มาก ล่าสุด DeepMind บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากสหราชอาณาจักร เผยเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถพยากรณ์อากาศในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างแม่นยำ


โครงการนี้ทาง DeepMind ได้ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร เพื่อพัฒนา AI ที่มีความสามารถในการพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาใกล้ที่สุด 2 ชั่วโมงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า Nowcasting อีกทั้งยังสามารถระบุสภาพอากาศของพื้นที่ที่จำเพาะเจาะจงได้มากขึ้นด้วย


ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงการพยากรณ์อากาศที่ใช้กันในปัจจุบัน เราเรียกว่าระบบ Numerical Weather Prediction (NWP) ซึ่งเป็นการพยากรณ์อากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ของสภาพอากาศทั้งโลก และพยากรณ์ได้ล่วงหน้าแบบเป็นวันหรือสัปดาห์ ทำให้แนวโน้มความแม่นยำลดลงถึงแม้จะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลก็ตาม


ส่วนเทคโนโลยีของ DeepMind นั้นจะใช้ AI ที่เรียกว่า Deep Generative Modelling (DGM) ซึ่งจะอาศัยข้อมูลจากแผนที่เรดาร์ย้อนหลังในช่วง 3 ปี เพื่อพยากรณ์การเกิดฝนหรือหิมะตก ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการพยากรณ์ AI จะประเมินการเกิดฝนหรือหิมะตกทุก ๆ 5 นาทีในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้พยากรณ์ว่าในช่วงเวลาล่วงหน้าไปอีก 2 ชั่วโมง พื้นที่นั้น ๆ จะมีฝนหรือหิมะตกหรือไม่

AI พยากรณ์อากาศจาก DeepMind แจ้งเตือนว่าฝนจะตกหรือไม่ ล่วงหน้าใน 2 ชั่วโมง ที่มาของภาพ https://deepmind.com/blog/article/nowcasting

 


ผลการพยากรณ์อากาศของ AI จาก DeepMind ได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำสูงถึง 89% จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยากว่า 56 ราย และยังแม่นยำกว่าการพยากรณ์อากาศด้วย AI จากบริษัทอื่น ๆ อีกด้วย


ในอนาคตทางกรมอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักรคาดว่าจะร่วมพัฒนา AI นี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพยากรณ์อากาศ โดยเพิ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศลงไปด้วย (เนื่องจากภาวะโลกร้อน) ซึ่งการเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ลงไปจะช่วยให้ AI มีความแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Financial Times

ข่าวแนะนำ