TNN ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ

TNN

Tech

ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ

ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ

European Hyperloop Center สร้างท่อไฮเปอร์ลูปยาว 420 เมตรในประเทศเนเธอร์แลนด์ เตรียมทดลองในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

หน่วยงานเทคโนโลยีพัฒนาด้านไฮเปอร์ลูปสัญชาติเนเธอร์แลนด์อย่าง ยูโรเปียน ไฮเปอร์ลูป เซ็นเตอร์ (European Hyperloop Center หรือ EHC) ประกาศความสำเร็จในการติดตั้งท่อทดลองไฮเปอร์ลูป ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งความเร็วสูงในอนาคต ที่เมืองวีนดัม จังหวัดโกรนิงเกน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และคาดว่าจะทดสอบไฮเปอร์ลูปอีกไม่กี่สัปดาห์ 


ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ


ท่อทดลองไฮเปอร์ลูปที่เพิ่งติดตั้งเสร็จสิ้นนี้มีความยาว 420 เมตร มีลักษณะเป็นท่อเหล็กสีขาวประกอบกันทั้งหมด 34 ท่อ เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อกว้าง 2.5 เมตร วางทอดยาวไปตามรางรถไฟทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่แยกท่อออกเป็น 2 เลน ซึ่งเป็นการจำลองการสับเปลี่ยนเลนในอนาคต มีปั๊มดูดอากาศติดตั้งอยู่ข้างท่อ สำหรับดูดอากาศออกเพื่อลดแรงดันภายใน ช่วยลดการลาก และช่วยให้แคปซูลเดินทางด้วยความเร็วสูงได้


ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ

ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ

ปั๊มหัวใจไฮเปอร์ลูป เนเธอร์แลนด์สร้างท่อยาว 420 เมตร เตรียมทดลองเทคโนโลยีสุดล้ำ


ด้าน มารินัส ฟาน เดอร์ ไมจ์ส (Marinus van der Meijs) ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมของฮาร์ด ไฮเปอร์ลูป บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนาไฮเปอร์ลูปสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ผู้ผลิตท่อที่นำมาทดลองทั้งหมด ให้ความเห็นว่า “ท่อทดลองของ EHC เป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ ช่วยให้เราสาธิตเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น การลอยด้วยแม่เหล็ก การขับเคลื่อน การทรงตัว หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนเลนด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับไฮเปอร์ลูป เพราะมันจะช่วยให้ยานพาหนะเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางใดก็ได้”


ขณะที่ ซาชา แลมมี (Sascha Lamme) ผู้อำนวยการของ EHC กล่าวว่า “ผมคาดว่าเราจะมีเส้นทางไฮเปอร์ลูปเส้นแรกที่อาจจะมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ภายในปี 2030 ซึ่งไฮเปอร์ลูปนี้จะสามารถขนส่งผู้คนได้”


สำหรับการติดตั้งท่อทดลองไฮเปอร์ลูปนี้ มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่อไฮเปอร์ลูปทำจากเหล็กที่พัฒนาโดยบริษัทสัญชาติเกาหลีโพสโค (POSCO) ร่วมกับบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ทาทา สตีล (Tata Steel) จากนั้นถูกประกอบเป็นท่อไฮเปอร์ลูปสำเร็จรูปโดยบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ เมอร์คอน (Mercon) และติดตั้งโดยบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานสัญชาติเบลเยี่ยม เดนิส (Denys) 


ทั้งนี้ EHC เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม ไฮเปอร์ลูป ดีเวโลปเมนท์ โปรแกรม (Hyperloop Development Program หรือ HDP) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมากกว่า 25 รายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป ซึ่งจะทำการทดสอบระบบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ยังไม่มีการกำหนดวันอย่างเป็นทางการ 


สำหรับแนวคิดเรื่องไฮเปอร์ลูป เป็นหลักการสร้างระบบขนส่งที่ให้ห้องโดยสาร (Pod) เคลื่อนตัวไปตามแนวท่อสุญญากาศเพื่อลดแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน และตั้งเป้าเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สามารถทำความเร็วสูงสุด 760 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที แนวคิดนี้มีมานานแล้ว แต่ในปี 2013 เจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้หยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง นับจากนั้นก็มีหลายบริษัทได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป เช่น ในปี 2014 มีการก่อตั้งบริษัทไฮเปอร์ลูป วัน (Hyperloop One) และถือเป็นผู้เล่นหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ แต่ก็ต้องปิดตัวลงในเดือนธันวาคมปี 2023 หลังจากที่ไม่สามารถชนะการประมูลกับหน่วยงานใด ๆ เพื่อสร้างไฮเปอร์ลูปได้ จนทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “ไฮเปอร์ลูปถือเป็นคำตอบสำหรับระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงในอนาคตหรือไม่ ?”


แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวครั้งนี้ดูเหมือนว่า EHC จะยังเชื่อว่านี่คือการขนส่งแห่งอนาคต โดยในเว็บไซต์ของ EHC ได้เผยวิสัยทัศน์ของหน่วยงานว่า โครงสร้างเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปจะมีต้นทุนที่ถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง การใช้พื้นที่ก็จะง่ายกว่าโครงสร้างพื้นฐานประเภทอื่น รวมถึงพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนไฮเปอร์ลูป ก็คาดว่าจะน้อยกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์หรือเครื่องบินถึง 10 เท่าด้วย




ที่มาข้อมูล ApnewsTNN ThailandFuturismHyperloopcenterHyperloopcenterTech.EU

ที่มารูปภาพ Hyperloopcenter

ข่าวแนะนำ