ซ้อมสำรวจดวงจันทร์ดาวเสาร์ ! เยอรมนีเตรียมทดสอบยานดำน้ำนาโน ใต้แผ่นน้ำแข็งทวีปแอนตาร์กติกา
เยอรมนีเตรียมทดสอบยานดำน้ำนาโนใต้แผ่นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกา เล็งใช้สำหรับสำรวจดวงจันทร์ของดาวเสาร์ในอนาคต
องค์การอวกาศเยอรมัน หรือ DLR นับเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ โดยล่าสุดเตรียมทดสอบโครงการ TRIPLE-nanoAUV 2 การส่งยานดำน้ำนาโนลงไปใต้พื้นน้ำแข็งทวีปแอนตาร์กติกา ในช่วงปี 2026 เพื่อทดสอบระบบต่าง ๆ ก่อนนำมาใช้งานกับแผนการสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์ในอนาคต
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทราบมาได้ระยะหนึ่งแล้วว่าภายใต้พื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์อาจมีน้ำในสถานะของเหลวอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์รู้จักบนโลก และมีแนวโน้มจะพบสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ทั้งสอง
ภูมิประเทศลักษณะที่เป็นแผ่นน้ำแข็งและน้ำทะเลด้านล่างของทวีปแอนตาร์กติกา นับเป็นสถานที่เหมาะสมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หากต้องการทดสอบการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปาและเอนเซลาดัสมากที่สุดบนโลก
โครงการ TRIPLE-nanoAUV 2 มีลักษณะเป็น AUV หรือ ยานพาหนะใต้น้ำอัตโนมัติ การออกแบบมีลักษณะรูปทรงคล้ายตอปิโด ความยาว 50 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ติดตั้งหัวเจาะละลายน้ำแข็งรองรับเจาะน้ำแข็งได้อย่างรวดเร็ว พัฒนาโดย Launch and Recovery System (LRS) เพื่อลงไปสำรวจน้ำในสถานะของเหลวใต้แผ่นน้ำแข็ง เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์การอวกาสเยอรมัน DLR ศูนย์วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางทะเล MARUM มหาวิทยาลัยเบรเมิน
ตามกำหนดการที่เปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ ยานดำน้ำ TRIPLE จะถูกทดสอบร่วมกันในการทดลองภาคสนามใต้หิ้งน้ำแข็งแอนตาร์กติกใกล้กับสถานี Neumayer III ในฤดูใบไม้ผลิปี 2026 เพื่อประเมินผลความสามารถ อย่างไรก็ตามการสำรวจดวงจันทร์ยุโรปหรือเอนเซลาดัสนับเป็นความท้าทายครั้งหนึ่งของมนุษย์ โดยยังต้องได้รับการทดสอบอีกหลายรูปแบบ เช่น อุณหภูมิเย็นสุดขั้ว การแผ่รังสี การสื่อสาร แหล่งพลังงานในการสื่อสารกลับมายัง
นอกจากองค์การอวกาศเยอรมัน ปัจจุบันนาซาของสหรัฐอเมริกากำลังมีแผนการส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ยูโรปา ในช่วงปี 2024 โดยใช้ชื่อภารกิจว่า Europa Clipper เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลที่ได้รับกลับมาจะมีประโยชน์สำหรับการสำรวจในระยะต่อ ๆ ของนาซา
ที่มาของข้อมูล Space
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67