TNN เปิดตัวเรือโดรนไร้คนขับขนาดกลางรุ่น Voyager สำหรับทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทร

TNN

Tech

เปิดตัวเรือโดรนไร้คนขับขนาดกลางรุ่น Voyager สำหรับทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทร

เปิดตัวเรือโดรนไร้คนขับขนาดกลางรุ่น Voyager สำหรับทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทร

เปิดตัวเรือโดรนไร้คนขับขนาดกลางรุ่น Voyager สำหรับทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทรภารกิจทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทร

ในปี 2018 เรือโดรนไร้คนขับที่พัฒนาโดยบริษัท เซลโดรน (Saildrone) ถูกนำมาใช้งานในภารกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพายุในมหาสมุทร การไล่ตามพายุเฮอริเคน และการสำรวจพื้นที่ห่างไกล ล่าสุดบริษัทผู้พัฒนาได้เปิดตัวเรือโดรนลำใหม่เพื่อนำมาใช้ทำภารกิจทำแผนที่ชายฝั่งมหาสมุทร


เรือโดรนรุ่นใหม่วอยเอเจอร์ยูเอสวี (Voyager USV) มีลักษณะเป็นเรือโดรนขนาดกลางความยาว 33 ฟุต หรือประมาณ 10 เมตร มีขนาดใหญ่กว่ารุ่นเอ็กซ์พลอร์เรอร์ (Explore) ที่มีความยาว 23 ฟุต หรือประมาณ 7 เมตร และมีขนาดเล็กกว่ารุ่นเซอร์เวย์เยอร์ (Surveyor) ที่มีขนาด 65 ฟุต หรือประมาณ 20 เมตร โดยเรือโดรนรุ่นกลาง “วอยเอเจอร์” (Voyager) นี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ทำแผนที่ใกล้ชายฝั่งมหาสมุทร และก้นทะเลสาบ รวมทั้งรวบรวมข่าวกรองสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย ความปลอดภัยในการเดินเรือ การบังคับใช้ยาเสพติด ภารกิจรักษาความปลอดภัยชายแดน/ท่าเรือ รวมถึงการเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดกฎหมาย


อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเรือไร้คนขับลำนี้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และมีปีกเรือใบ ขนาด 21 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) สำหรับใช้รับลมในการขับเคลื่อน อีกทั้งยังมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 4 กิโลวัตต์เป็นอุปกรณ์เสริม แม้ว่าเรือโดรน “วอยเอเจอร์” (Voyager) จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก แต่ยังสามารถเลือกใช้การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับการปฏิบัติการในพื้นที่ลมต่ำและใกล้ชายฝั่ง จากการทดสอบพบว่าเรือโดรนรุ่นนี้สามารถทำภารกิจได้นานกว่า 3 เดือน


เรือโดรนไร้คนขับขนาดกลางนี้สามารถปรับแต่งเซนเซอร์ให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานได้ โดยระบบจะมีการใช้งานมัลติบีม โซนาร์ (Multibeam Sonar) เพื่อให้สามารถสแกนเก็บข้อมูลได้ลึกถึง 900 ฟุต (ประมาณ 300 เมตร)  และยังมีกล้องอัจฉริยะ เรดาร์ดิจิทัล และเซ็นเซอร์ใต้พื้นผิวสำหรับการเฝ้าระวังและภารกิจลาดตระเวน 


ขั้นตอนการผลิตเรือโดรน รุ่นวอยเอเจอร์ (Voyager) นอกจากจะมีการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยตัวเองแล้ว บริษัทเซลโดรน (Saildron) ยังได้ทำงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ จากภายนอก เช่น บริษัทจานิกี้ อินดัสตรีส์ (Janicki Industries) จากรัฐวอชิงตัน ในการผลิตปีกเรือและกระดูกงู และบริษัทซีแมนน์ คอมโพสิท (Seemann Composites) จากรัฐมิสซิสซิปปี้ ในการผลิตตัวเรือ จากนั้นนำชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกันที่โรงเก็บเครื่องบินเก่าในเมืองอลาเมดา รัฐแคลิฟอร์เนีย


เรือโดรน รุ่นวอยเอเจอร์ (Voyager) ได้ถูกนำมาทดลองทางทะเลในอ่าวซานฟรานซิสโก และนอกแนวชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปลายปี 2022 และจะเริ่มทำภารกิจแรกในงาน International Offshore Wind Partnering Forum ในเมืองบัลติมอร์ในสัปดาห์นี้ และงานแสดงสินค้า Sea Air Space ที่ National Harbor รัฐแมรี่แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 5 เมษายนนี้




ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ

Newatlas 

ข่าวแนะนำ