TNN นักวิจัยพบหลุมดำปีศาจ (Monster Black Hole) ใกล้โลก มวล 12 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

TNN

Tech

นักวิจัยพบหลุมดำปีศาจ (Monster Black Hole) ใกล้โลก มวล 12 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

นักวิจัยพบหลุมดำปีศาจ (Monster Black Hole) ใกล้โลก มวล 12 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

นักวิจัยด้านดาราศาสตร์ค้นพบหลุมดำปีศาจ (Monster black hole) มีมวล 12 เท่า ของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา งานวิจัยการค้นพบหลุมดำปีศาจ (Monster black hole) โดยนักวิจัยด้านดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอลาบามา (The University of Alabama) ได้ถูกเผยแพร่ลงบนวารสารแอสโตรฟิสิคัล (Astrophysical Journal) ซึ่งสิ่งที่ทำให้งานวิจัยนี้ได้รับความสนใจนั่นก็คือ หลุมดำดังกล่าวที่ถูกค้นพบเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ


ฐานข้อมูลของยานอวกาศไกอา 

โดยนักดาราศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของยานอวกาศไกอา (Gaia) ที่มีข้อมูลของระบบดาวคู่มากเกือบ 200,000 ระบบ มาศึกษาและบันทึกข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่างของดาว (Colour Magnitude Diagram), การสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของดอปเปลอร์ (Doppler shift), การสังเกตผ่านฟิล์มรังสีเอ็กซ์ และอื่น ๆ 

นักวิจัยพบหลุมดำปีศาจ (Monster Black Hole) ใกล้โลก มวล 12 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

ซึ่งนอกจากการพบหลุมดำดวงอื่น ๆ โดยที่หลาย ๆ ดวง เป็นหลุมดำที่ถูกค้นพบก่อนแล้ว สิ่งสำคัญของผลลัพธ์การศึกษานี้ก็คือ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถอนุมานได้ว่ามีหลุมดำมวลมหึมาอยู่ในระบบดาวคู่หนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกับระบบสุริยะ ด้วยระยะทางที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 1,550 ปีแสง ซึ่งเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ โดยตัวหลุมดำมีมวลประมาณ 12 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์ และมีรอบการโคจรอยู่ที่ 185 วัน


อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวไม่เพียงอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลของยานอวกาศไกอาเท่านั้น แต่ยังอาศัยกล้องโทรทรรศน์แพลเน็ต ไฟน์เดอร์ (Automated Planet Finder) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย กล้องโทรทรรศน์แมกเจลแลนยักษ์ของชิลี (Chile’s Giant Magellan Telescope) และหอดูดาวเค็ก (W.M. Keck Observatory) ในรัฐฮาวาย


ความท้าทายในการค้นพบหลุมดำ 

โดยหลุมดำเป็นวัตถุที่ท้าทายมากของนักดาราศาสตร์ เพราะแม้ว่ามันจะมีมวลและมีแรงโน้มถ่วงที่มหาศาล แต่เป็นวัตถุที่สามารถสังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากด้วยแรงโน้มถ่วงที่มหาศาลของตัวมันเอง ทำให้ไม่มีแสงใดสามารถหลบหนีจากหลุมดำได้ ดังนั้นหลุมดำจึงเป็นวัตถุที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า และการสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตา (Visible light)


ข้อมูลจาก arxiv.orgnewatlas.com

ภาพจาก pixabay.com

ข่าวแนะนำ