TNN จีนทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST อุณหภูมิสูงทำสถิติโลก 70 ล้านองศาเซลเซียส

TNN

Tech

จีนทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST อุณหภูมิสูงทำสถิติโลก 70 ล้านองศาเซลเซียส

จีนทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST อุณหภูมิสูงทำสถิติโลก 70 ล้านองศาเซลเซียส

จีนทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST อุณหภูมิสูงทำสถิติโลก 70 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลา 1,056 วินาที ก้าวสำคัญของการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion)

ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนในสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (ASIPP) ประสบความสำเร็จในการทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST หรือ Experimental Advanced Superconducting Tokamak สามารถสร้างอุณหภูมิประมาณ 70 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1,056 วินาที ยาวนานเป็นสถิติโลกใหม่ร้อนมากกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิประมาณ 27 ล้านองศาเซลเซียส การทดสอบครั้งนี้มีขึ้นในศูนย์ควบคุมดวงอาทิตย์เทียม นครเหอเฝย มณฑลอันฮุย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน


ก่อนหน้านี้ในปี 2021 ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนได้ทำการทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST มาแล้ว 1 ครั้งโดยสามารถสร้างอุณหภูมิประมาณ 120 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 101 วินาที สำหรับการทดสอบครั้งล่าสุดนับเป็นก้าวที่สำคัญของวงการวิทยาศาสตร์จีนที่กำลังพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion) เทคโนโลยีพลังงานสะอาดสร้างพลังงานไฟฟ้ามหาศาลให้กับมนุษย์ในอนาคต


ดวงอาทิตย์เทียม EAST ใช้ดิวเทอเรียม (Deuterium) ธาตุไฮโดรเจนชนิดหนักสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนความร้อนบนดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการทดสอบดวงอาทิตย์เทียม EAST ของประเทศจีนในครั้งเป็นก้าวสำคัญเพื่อการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปีในการพัฒนาให้เทคโนโลยีไปถึงเป้าหมายดังกล่าว


นอกจากโครงการพัฒนาดวงอาทิตย์เทียม EAST ในประเทศจีนยังมีโครงการวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชันระหว่างประเทศ (ITER) ที่มีเป้าหมายใกล้เคียงกันแต่เป็นลักษณะโครงการความร่วมมือของหลายประเทศถูกก่อสร้างและพัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันแบบโทคาแมค (Tokamak) จำลองปฏิกิริยานิวเคลียร์ในลักษณะใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ใช้การรวมอะตอมไฮโดรเจนและอะตอมฮีเลียมพร้อมปล่อยพลังงานความร้อนสูงประมาณ 150 ล้านองศาเซลเซียส มีกำหนดการทดสอบเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันในปี 2025


ข้อมูลจาก newatlas.com 

ภาพจาก english.ipp.cas.cn


ข่าวแนะนำ