TNN โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง

TNN

สังคม

โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง

โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง

โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต และพบว่าคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs สาเหตุมาจากอะไร

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกล โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง โดยกลุ่มโรค NCDs ประกอบด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคระเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง และโรคไขมันเลือดสูง


โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง


ทั้งนี้พบว่า โรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกถึง 41 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 


นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทย โดยพบเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต และคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกำลังเผชิญกับโรค NCDs / และสาเหตุหลักของการเกิดโรค NCDs คือ มาจากการรับประทานอาหาร หวาน มัน เค็ม นอนดึกพักผ่อนไม่เพียง มีความเครียด ไม่ออกกำลังกาย ไม่ควบคุมน้ำหนักตัว ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่


โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง


โดยการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม จากข้อมูลพบว่า คนไทยกินน้ำตาลมากถึงวันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา รวมถึงได้รับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคเฉลี่ย 3,636 มก./วัน ซึ่งมากกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้ประชาชนบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก./วัน


โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง


และอีกสาเหตุการเกิดโรค มีพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่ออกกำลังกาย พบคนไทยมีกิจกรรมทางกายลดลง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จากร้อยละ 74.6 เหลือเพียงร้อยละ 55.5 ในปี 2563 กรมอนามัยจึงกระตุ้นให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอโดยในปี 2566 คนไทยมีกิจกรรมทางกายสูงขึ้นอยู่ที่ ร้อยละ 68.1


ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่มุ่งแก้ไขปัญหาโรค NCDs โดยรณรงค์การปรับพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การนับคาร์บ 


คาร์บ คืออะไร คาร์บ หรือ คาร์โบไฮเดรต แต่เรียกย่อ ๆ ว่า คาร์บ โดยต้องรับไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ 

คาร์บ จะพบมากในอาหารกลุ่ม ข้าง แป้ง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นพื้นฐานของน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อกินในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีเป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่เสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน


โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง


ทั้งนี้ มีข้อแนะนำ ใครบ้าง ควรนับคาร์บในการกิน

->ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 

->ผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ต้องฉีดอินซูลิน 

*เพื่อคำนวณปริมาณคาร์บในแต่ละมื้อให้เหมาะกับยาฉีดอินซูลิน 

->ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือผู้มีความเสี่ยงเบาหวาน

->ผู้มีน้ำหนักเกินจะมีความเสี่ยงเบาหวาน 

*การจำกัดปริมาณคาร์บและการเลือกชนิดของคาร์บจะช่วยลดน้ำหนักได้ หากลดน้ำหนักได้จะลดความเสี่ยง

->ผู้ดูแลสุขภาพที่ต้องการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

*การทราบปริมาณคาร์บที่ได้รับในแต่ละมื้อ จะช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน


ข้อมูล: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

กราฟิก : TNN


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง