
คุณแพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหารและหัวหน้าฝ่าย Commercial Outsourcing ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก DKSH เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ โดยคาดว่าภายในปีพ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็น "สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" (Super-Aging Society) หรือ สังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20ของประชากรทั้งหมด และกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมาซึ่งทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับนวัตกรรมด้านสุขภาพและการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขของประเทศ
การเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ประกอบกับอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นและอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases - NCDs) ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นสาเหตุของของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทยถึง 74% หรือประมาณ 400,000 รายต่อปี

สรุปข่าว
และยังคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มจาก 4.8 ล้านคนในปีพ.ศ. 2566 เป็น 5.3 ล้านคนภายในปี 2583 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ด้วยงบประมาณที่ใช้ในการดูแลถึง 1.6 ล้านล้านบาทในแต่ละปี หรือเทียบเท่ากับ 9.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพื่อบริหารจัดการระบบสาธารณสุข สถานการณ์นี้สะท้อนถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน และนวัตกรรมที่สามารถรับมือกับความท้าทายของสังคมสูงวัย
นอกจากนี้ งบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของประเทศไทยยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพของประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นที่อัตราการเติบโตต่อปีที่ 7.1% จนถึงปี 2571 ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเผชิญกับความท้าทายและแรงกดดันทางการเงิน ขณะเดียวกันเมื่อประชากรในวัยทำงานลดลงย่อมส่งผลต่อภาวะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
สถานการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการฝึกฝนที่ดียิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับความต้องการโดยเฉพาะของสังคมผู้สูงอายุการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันจึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามเช่นการตรวจสุขภาพประจำปีสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหารที่สมดุลการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพจิตก็มีความสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของตนเอง และลดภาระในระยะยาวต่อทรัพยากรด้านสาธารณสุข
คุณแพทริค ให้ข้อมูลด้วยว่า การรับมือกับความท้าทายจากสังคมผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งจากนโยบายของรัฐผู้ให้บริการสุขภาพและภาคเอกชน DKSH ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ดูแลสุขภาพโครงการเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพของไทยให้มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนในระยะยาว
เทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์กำลังมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพที่บ้าน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ DKSH ได้พัฒนาบริการ “Home Pulse” ซึ่งได้ให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศไทยเช่นโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ บริการดังกล่าวสามารถส่งตรงถึงบ้านของผู้ป่วยได้ตามความต้องการช่วยลดการเดินทางไปโรงพยาบาลและเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ
เทคโนโลยีเสริมเช่นอุปกรณ์สวมใส่ เป็นการใช้เทคโนโลยี AI ช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆส่วนแอปพลิเคชันด้านสุขภาพยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถติดตามสถานะทางสุขภาพได้ด้วยตนเองพร้อมส่งข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์แก่บุคลากรทางการแพทย์
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการดูแลระยะยาวก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุตัวอย่างเช่น DKSH ได้ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นต้นแบบทดสอบระบบชำระเงินรูปแบบดิจิทัล ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและยกระดับประสบการณ์ของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
โครงการที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน คือ อีกหนึ่งกุญแจสำคัญสำหรับสร้างการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ที่ผ่านมา DKSH ได้จัดโครงการ"Patient Purpose Day" ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพสำหรับในประเทศไทยได้ให้บริการรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตาในถิ่นทุรกันดารอาทิโรคต้อกระจกต้อหินและโรคตาอื่นๆผ่านโครงการรถคลินิกจักษุศัลยกรรมเคลื่อนที่สภากาชาดไทยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรของประเทศไทย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับแนวทางกลยุทธ์หลักดังนี้
o การขยายโซลูชันสุขภาพดิจิทัล: นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) และการวินิจฉัยด้วย AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงการให้บริการ แม้ในพื้นที่ชนบท
o การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว: เสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและห่วงโซ่อุปทานด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-private partnerships) จะมีบทบาทสำคัญในการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการดูแลระยะยาวและปรับปรุงการบริการสำหรับประชากรผู้สูงอายุ
o แคมเปญการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน: สนับสนุนแคมเปญสุขภาพระดับชาติเพื่อสร้างความตระหนักรู้ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดภาระจากการดูแลโรคเรื้อรังและลดต้นทุนการดูแลสุขภาพโดยรวม
สถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นมีทั้งความท้าทายและโอกาสในการปรับเปลี่ยนการให้บริการด้านสุขภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาคส่วนต่างๆ จะช่วยผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขที่ตอบโจทย์สำหรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าระบบการดูแลสาธารณสุขจะปรับเปลี่ยนไปแต่พันธกิจยังคงเดิม นั่นคือการส่งเสริมให้ประชากรทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม

null null
(napapat_jan)