เปิดประวัติ 'มาดามแป้ง' นวลพรรณ ล่ำซำ นายก ส.บอล คนที่ 18
เปิดประวัติ 'มาดามแป้ง' นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมฟุตบอลคนที่ 18
"มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ ได้รับการโหวตเป็นนายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่ หลังคะแนนขาดลอย ได้คะแนน 68 เสียง จากทั้งหมด 73 เสียง โดยเป็นสุภาพสตรีคนแรกของประเทศไทย
เปิดประวัติ 'มาดามแป้ง' นวลพรรณ ล่ำซำ
นวลพรรณ ล่ำซำ (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น แป้ง เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[1] กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐลิทัวเนีย อดีตประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือในไทยลีก ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมและอดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติการศึกษา
นวลพรรณสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ปริญญาตรี สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2532
ประวัติการทำงาน
-ฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท ลินตาส จำกัด (ประเทศไทย)
-เจ้าหน้าที่ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
-2545 กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (พ.ศ. 2545-2547)
-2548 ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบัน
กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท วรรณมานี จำกัด นำเข้าสินค้าแบรนด์ Emporio Armani, JP Tod's, Rodo, Christofle และ Blumarine
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซังออนอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด นำเข้าสินค้าแบรนด์ แอร์เมส (Hermes)
งานทางด้านการเมือง
นวลพรรณ ล่ำซำ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 ในตำแหน่ง "ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์" หลังถูกทาบทามจากสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ให้เดินตามรอย โพธิพงษ์ ล่ำซำ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยงานแรกที่นวลพรรณรับผิดชอบคือ งานฉลองครบรอบ 60 ปี พรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)
พ.ศ. 2564 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)
ข้อมูลวิกิพีเดีย / มาดามแป้ง
ภาพ : Madam Pang - มาดามแป้ง - นวลพรรณ ล่ำซำ
ข่าวแนะนำ