10 อันดับโรคผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการ "ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน" สูงสุด ปี 2564
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิด 10 อันดับโรค ที่มีผู้มาใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการสูงสุด ในปี 2564 พบว่า ผู้ป่วยนอก "ความดันโลหิตสูง" อันดับหนึ่ง ขณะที่ ผู้ป่วยใน เข้ารักษา "โรคติดเชื้อโควิด-19" มากที่สุดอันดับหนึ่ง
วันนี้ (26 พ.ค.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 พบว่า 10 อันดับโรค ที่มีผู้มาใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการ “ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน” สูงสุด ในปี 2564 มีดังนี้
ผู้ป่วยนอก
161.71 ล้านครั้ง อัตราเฉลี่ย 3.437 ครั้งต่อคนต่อปี โรคหรือกลุ่มโรคที่เข้ารับบริการมากที่สุด 10 อันดับแรก
1.ความดันโลหิตสูง 25.47 ล้านครั้ง
2.เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน 13.84 ล้านครั้ง
3.ความผิดปกติของเมตะบอลิซึมของไลโปโปรตีนและภาวะไขมันในเลือดหรือไขมันในเลือดผิดปกติ 11.24 ล้านครั้ง
4.โรคไตวายเรื้อรัง 5.47 ล้านครั้ง
5.เยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลันหรือโรคหวัด 5.13 ล้านครั้ง
6.ความผิดปกติแบบอื่นของเนื้อเยื่ออ่อน ปวดกล้ามเนื้อ 4.16 ล้านครั้ง
7.โรคกระเพาะอาหาร 3.21 ล้านครั้ง
8.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก 2.73 ล้านครั้ง
9.โรคฟันผุ 2.72 ล้านครั้ง
10.เวียนศีรษะ วิงเวียน 2.20 ล้านครั้ง
ภาพจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผู้ป่วยใน
5.75 ล้านครั้ง อัตราเฉลี่ย 0.122 ครั้งต่อคนต่อปี โรคหรือกลุ่มโรคที่เข้ารักษาโดยนอนในโรงพยาบาลระบบบัตรทอง สูงสุด 10 อันดับแรก
1.ภาวะต้องการมาตรการป้องกันโรคโดยการแยกกักตัวและรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 (Need for other prophylactic measures) 2.68 แสนครั้ง
2.ปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัส 2.28 แสนครั้ง
3.ทารกปกติที่คลอดในโรงพยาบาล (Liveborn infants according to place of birth) 2.25 แสนครั้ง
4.กระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบจากการติดเชื้อ 1.92 แสนครั้ง
5.โรคปอดบวม 1.45 แสนครั้ง
6.โรคไตวายเรื้อรัง 1.21 แสนครั้ง
7.มารดาคลอดธรรมชาติ (ครรภ์เดี่ยว) 1.08 แสนครั้ง
8.ภาวะหัวใจล้มเหลว 1.08 แสนครั้ง
9.โรคธาลัสซีเมีย 1.03 แสนครั้ง
10.ผ่าตัดต้อกระจกในผู้สูงอายุ 9.76 หมื่นครั้ง
ข้อมูลจาก รายงานผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP