TNN หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

TNN

สังคม

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ไลฟ์สดเปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งประเทศไทยและทั่วโลก พบว่ายอดการแพร่ระบาดเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลง แต่เชื่อว่าการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน จะไม่ใช่จุดจบสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

วันนี้ (25 เม.ย.65) ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดและการคาดการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยมหิดล

นพ.ประสิทธิ์ เปิดเผยว่า สายพันธุ์ของโควิด-19 ที่ยังครองโลกของเราในขณะนี้ คือ "สายพันธุ์โอมิครอน" เป็นหลัก รองลงมา คือ "สายพันธุ์เดลต้า" ซึ่งมีหลงเหลือเพียงเล็กน้อยเพียงเท่านั้น

ข้อมูล 2 วันที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อถึง 500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้แบ่งการระบาดของทั่วโลกออกเป็น 6 ทวีป พบว่า "ทวีปยุโรป" เป็นทวีปที่มีการแพร่ระบาดสูงที่สุด รองลงมา คือ "แอฟริกา" และ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

ในส่วนของยุโรปนั้น ในขณะนี้ถือว่าเลยจุดการแพร่ระบาดสูงสุดไปแล้ว สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน เช่นเดียวกับทวีปอเมริกา ที่มีอัตราการแพร่ระบาดลดลงอย่างรวดเร็ว 

ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น การระบาดอยู่ในช่วงขาลงเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากสรุปในขณะนี้ พบว่าการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนทั่วโลก มีแนวโน้มที่อยู่ในช่วงขาลง หลายๆ พื้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน ยังคงมีสายพันธุ์ย่อยออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงต้องติดตามในส่วนของสายพันธุ์ย่อยที่ออกมา เช่น สายพันธุ์เอ็กซ์อี (XE) ที่มีความรวดเร็วในการแพร่กระจายมากกว่าเดิมร้อยละ 10 แต่จะไม่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น


ขณะที่แนวโน้มของการเป็นโรคประจำถิ่นนั้น สถานการณ์ในเวลานี้การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศในขณะนี้ ยังไม่เข้าข่ายของการเป็นโรคประจำถิ่น เนื่องจากยังมีโอกาสที่จะกลับมาเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ได้อีก

ส่วนการเปิดเทอมของเด็กนักเรียนในปี 2565 นี้เชื่อว่าไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดในกลุ่มนักเรียนได้ เพราะในเด็กนั้นยังคงมีการระมัดระวังป้องกันการแพร่ระบาดได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงต้องเร่งให้เด็กนักเรียนได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งในขณะนี้มีการฉีดวัคซีนในเด็กไปได้เพียงครึ่งหนึ่งเพียงเท่านั้น สำหรับเข็มหนึ่ง ซึ่งยังถือว่ายังห่างไกลกับเข็ม 2 

ที่ผ่านมามีการค้นพบกลุ่มอาการในเด็กที่ติดโควิด-19 และเกิดภาวะการอักเสบขึ้นในหลายๆ อวัยวะ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องนำเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีน 

และวัคซีนที่ประเทศไทยมีในขณะนี้ ก็ถือว่ามีความปลอดภัยมากเพียงพอ ซึ่งการเรียนทางไกลถือว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และแม้โอกาสการป้องกันการติดเชื้อจะค่อนข้างยากในเด็ก ทำให้การฉีดวัคซีนถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะต้องดำเนินการก่อนการเปิดภาคเรียนที่จะถึงนี้

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

ส่วนการยกเลิก test and go ถือว่ายังคงมีความเป็นกังวล แต่การยกเลิก test and go ก็ยังมีเงื่อนไขที่จะไม่มีการ test นักท่องเที่ยวที่มีการฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม ซึ่งต้องไม่เกิน 3 เดือนอีกด้วย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะกระจายเชื้อเป็นไปได้น้อย แต่ในกรณีที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็ยังคงต้องได้รับการ test and go หรือเข้ารับการ qualantine เช่นเดิม

หากรัฐบาลดำเนินการอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด ก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดจากการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้ ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในเวลานี้ พบว่าการติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือว่ามีสัดส่วนน้อยกว่าการติดเชื้อภายในครอบครัวของคุณภายในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากใช้ระยะเวลาเพียง 1 เดือน ก็จะสามารถทราบผลว่าออกไปในแนวทิศทางใด

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

ท้ายที่สุดการป้องกันความเสียหายจากโควิด-19 คือลดโอกาสการติดเชื้อ การแพร่ระบาด และลดความรุนแรงการเสียชีวิตเมื่อเกิดการติดเชื้อ ซึ่งวิธีที่สุดในเวลานี้คือการฉีดวัคซีน 2 เข็มและเข็มกระตุ้น ร่วมกับการใส่หน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลเช่นเดิม ร่วมกับการตรวจ ATK เป็นประจำ 

ส่วนการรักษาสายพันธุ์โอมิครอนนั้น จะไม่เน้นการรับรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง เพื่อให้เตียงโรงพยาบาลว่าง และดูแลรักษาผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ ที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา 

หมอประสิทธิ์ เชื่อ โควิด-19 ยังไม่ใกล้เคียงสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

การติดเชื้อโควิค-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นของแต่ละประเทศไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการ จำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนเพียงพอ รวมไปถึงศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ที่จะถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้แต่ละประเทศเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วหรือช้า

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้มีการออกมาเตือนว่าโควิด-19 ยังไม่เข้าสู่สถานการณ์ของการเป็นโรคประจำท้องถิ่น แม้จะมีแนวโน้มพุ่งไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม และอาจจะเกิดการกลายพันธุ์ และการระบาดใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง.


ข้อมูลและภาพจาก Mahidol University

ข่าวแนะนำ