TNN “ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร ? ปรากฏบนฟากฟ้าคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี

TNN

วิทยาศาสตร์

“ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร ? ปรากฏบนฟากฟ้าคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี

“ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร ? ปรากฏบนฟากฟ้าคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี

ทำความรู้จัก “ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร ? เตรียมปรากฏบนฟากฟ้าใกล้โลกมากที่สุดคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี

วันนี้ ( 30 ส.ค. 66 ) จากกรณี NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลระบุว่าใน   คืนวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566   จะเกิด ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน”  (Super Blue Moon ) ปรากฏบนฟากฟ้า เรามาคำความรู้กันว่า  “ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร หมายความว่า พระจันทร์สีน้ำเงินใช่หรือไม่?


บลูมูน (Blue Moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน ในทางดาราศาสตร์แล้ว บลูมูน หมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ปกติแล้วดวงจันทร์มีคาบการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ในขณะที่หนึ่งเดือนในปฏิทินที่เราใช้กันมี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนมีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ซึ่งนานทีจะเกิดขึ้น และอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษอย่าง Once in a blue moon ที่หมายถึงอะไรที่เกิดขึ้นได้ยาก หรือนาน ๆ จะเกิดขึ้นที 


บลูมูนครั้งนี้ นับเป็นบลูมูนในรอบ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูนคือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งในครั้งนั้นนอกจากจะตรงกับวันฮาโลวีนแล้ว ยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) พอดีอีกด้วย


ส่วนปีนี้ เราน่าจะทราบกันแล้วว่าตรงกับช่วง ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า Super Blue Moon นอกจากจะเป็นดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ของเดือนแล้ว ยังเป็นดวงจันทร์ที่ขนาดปรากฏจะใหญ่กว่าปกติ (และแน่นอนว่ามมองเห็นเป็นดวงจันทร์สีขาวนวลเหมือนทุกวัน) เวลาที่เหมาะสมสำหรับชมความสวยงามคือคืน 30 สิงหาคม ถึงรุ่งเช้า 31 สิงหาคม 2566 


หากคืนดังกล่าวฟ้าใสไร้เมฆ สามารถชมความสวยงามด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ หรือถ้าอยากเห็นแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ ก็มาชมกับ NARIT ได้ที่หอดูดาวทั้ง 4 แห่งที่เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และฉะเชิงเทรา


ทั้งนี้สามารถ รับชม LIVE ปรากฏการณ์ ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ https://www.facebook.com/NARITpage


“ซูเปอร์บลูมูน” คืออะไร ? ปรากฏบนฟากฟ้าคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี



ข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก : AFP 


ข่าวแนะนำ