TNN มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567” หนุน “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ” สร้างคุณภาพเด็กไทยด้วย “นมแม่”

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”


มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567” วันที่ 1-7 สิงหาคมนี้ หนุน “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ” สร้างคุณภาพเด็กไทยด้วย “นมแม่” โดย องค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือ WABA : World Alliance for Breastfeeding Actions ได้กำหนดคำขวัญสัปดาห์นมแม่โลกในปีนี้ว่า “Closing the Gap : Breastfeeding Support for All” หรือ “ปิดช่องว่าง สร้างสังคมนมแม่ถ้วนหน้า”

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”

           พญ.ศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวถึงคำขวัญสัปดาห์นมแม่โลกในปีนี้ว่า หมายถึงการชักชวนให้ประชาคมโลกช่วยกันปิดช่องว่าง ลดปัญหา อุปสรรค ต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า สภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่พ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านหรือไกลบ้าน  วันลาคลอดที่ไม่เพียงพอ  ระบบการช่วยเหลือแม่ให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน การสนับสนุนจากสถานที่ทำงาน ฯลฯ  ล้วนเป็นช่องว่างที่ทำให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ

 

“ปัจจุบัน เรามีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เป็นตัวชี้วัดด้านโภชนาการระดับโลกที่ทุกประเทศต้องร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อร่วมกันก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สากล และประกันเบื้องต้นว่า ทารกจะได้รับอาหารและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมที่สุดในระยะวัยบอบบางที่สมองเติบโตรวดเร็ว คือนมแม่และอ้อมกอดแม่ ดีที่สุดคือร้อยละ 100  แต่ในความเป็นจริง อยู่ที่เพียงร้อยละ 28.6 ( MICS 2565) ซึ่งก็เนื่องจากช่องว่างดังกล่าวข้างต้น ซึ่งปิดยากมาก และพบว่ามีทารกที่ได้รับนมแม่เป็นหลักควบคู่กับน้ำและเครื่องดื่มที่มีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น มีจำนวนมากถึงร้อยละ 45.3 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบร้อยละ 42.1  ซึ่งเป้าหมายใน พ.ศ.2568 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ที่ร้อยละ 50 เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในการวางรากฐานสุขภาวะและคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทย ซึ่งมูลนิธิศูนย์นมแม่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการขับเคลื่อนมาโดยตลอดกว่า 20 ปี ยังไม่สามารถขยับมาถึงร้อยละ 30  ได้ ดังนั้นในปีนี้มูลนิธิฯ จึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมไทยให้ความสำคัญกับการช่วยปิดช่องว่างดังกล่าวข้างต้น โดยเริ่มจากช่วยกันสนับสนุนเด็กไทยได้รับ “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ” เป็นประเด็นรณรงค์   ขณะเดียวกันการปิดช่องว่างอื่นๆ ก็ยังคงขับเคลื่อนต่อเนื่อง อาทิ การช่วยลูกได้ดูดนมแม่อย่างถูกวิธี และมีนมให้ลูกก่อนกลับบ้าน พบที่ปรึกษาได้โดยง่าย ที่ทำงานมีมุมนมแม่และหรือเดย์แคร์นมแม่ รวมทั้งการส่งเสริมต่อเนื่องให้ลูกได้รับนมแม่ คู่กับอาหารตามวัย ต่อเนื่องไปจนถึงขวบปีที่ 2 หรือนานกว่า

     มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน “สัปดาห์นมแม่โลก 2567”


ด้าน ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ประธานสื่อสารมูลนิธิฯ กล่าวเสริมว่า ในเดือนสัปดาห์นมแม่โลกสิงหาคมนี้ มูลนิธิฯ จัดรายการคุยกันสั้นๆออนไลน์  Mini talk  “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ” โดย ทีมแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และแม่อาสา ผ่านช่อง “Tiktok การแพทย์แปดนาที” ดำเนินรายการโดย นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ ทุกวันจันทร์และวันพุธ เวลา 19.30 น. ตลอดเดือนสิงหาคม  เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทำไม อย่างไร เป็นไปได้หรือ ในประเด็นรณรงค์ดังกล่าว   หัวข้อที่น่าสนใจอาทิ หมอชวน-นมแม่ล้วน 6 เดือนแรกไม่ต้องเสริมน้ำ, น้ำนมไม่ไหล 2 วันแรกหลังคลอดไปต่อไม่ได้ ทำอย่างไร?  นมแม่ล้วน 6 เดือนต้องตื่นบ่อย เหนื่อยมาก  ลาคลอดได้เพียง 2-3 เดือน ทำไง ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะช่วยปิดช่องว่าง สร้างสังคมนมแม่ถ้วนหน้า เมื่อแม่ให้ นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ ได้สำเร็จ เข้าดูย้อนหลังได้ในทุกช่องทางสื่อสารของมูลนิธิฯ


สำหรับแม่ที่กำลังตั้งครรภ์-หลังคลอด สามารถศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเตรียมตัวอย่างถูกต้องได้ที่ www.thaibf.com หรือที่ Facebook  เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และ เพจนมแม่ หรือดาวน์โหลด Application : Everyday Doctor ของกรมอนามัยที่เปิดคลินิกนมแม่ออนไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาแม่ที่มีปัญหาในการให้นมแม่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

ข่าวแนะนำ