รู้สึกผิดที่รอดชีวิต จากเหตุการณ์ร้ายแรง บาดแผลทางใจ ที่นำพาสู่"โรคซึมเศร้า"

Survivor’s Guilt หรือ "ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต" เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรอดจากเหตุการณ์ร้ายแรงแต่กลับรู้สึกผิดที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ในขณะที่คนอื่นเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บหนัก ภาวะนี้พบได้บ่อยใน ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ สงคราม ภัยพิบัติ โรคร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้ว่าความรู้สึกนี้จะไม่ใช่โรคทางจิตเวชโดยตรง แต่สามารถนำไปสู่ภาวะ ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ได้ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงที่มาของ Survivor’s Guilt และแนวทางรับมือกับภาวะนี้


*Survivor’s Guilt คืออะไร?*

Survivor’s Guilt เป็นอาการทางจิตใจที่บุคคลรู้สึกผิดว่าตนเองไม่สมควรมีชีวิตอยู่ หรือ รู้สึกว่าควรทำบางสิ่งเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดแต่ทำไม่ได้

อาการนี้พบได้ในหลายสถานการณ์ เช่น...

-ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุร้ายแรง

- ทหารผ่านศึกที่รอดชีวิตจากสงคราม

- ผู้ป่วยที่หายจากโรคร้ายแรง แต่เห็นเพื่อนร่วมโรคเสียชีวิต

- บุคคลที่รอดจากเหตุการณ์ก่อการร้ายหรือภัยพิบัติ


อาการของ Survivor’s Guilt : ผู้ที่มีภาวะนี้มักมีอาการทางอารมณ์และพฤติกรรม เช่น

- รู้สึกผิดอย่างรุนแรง คิดว่าตนเองไม่น่ารอดมาได้

- นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมี Flashback นึกถึงเหตุการณ์ซ้ำๆ

- หลีกเลี่ยงสถานที่หรือคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

- อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หรือหมดกำลังใจในชีวิต

- ทำร้ายตัวเอง หรือรู้สึกว่าต้อง "ชดใช้" บางอย่าง

รู้สึกผิดที่รอดชีวิต จากเหตุการณ์ร้ายแรง บาดแผลทางใจ ที่นำพาสู่"โรคซึมเศร้า"

สรุปข่าว

Survivor’s Guilt เป็นอาการทางจิตใจที่บุคคลรู้สึกผิดว่าตนเองไม่สมควรมีชีวิตอยู่ หรือ รู้สึกว่าควรทำบางสิ่งเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดแต่ทำไม่ได้ มีงานวิจัยพบว่า กว่า 90% ของผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติครั้งใหญ่เคยมี Survivor’s Guilt แม้ว่าจะหายไปเองในบางราย แต่ในบางกรณีอาจกลายเป็น PTSD ได้

งานวิจัยพบว่า กว่า 90% ของผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติครั้งใหญ่เคยมี Survivor’s Guilt แม้ว่าจะหายไปเองในบางราย แต่ในบางกรณีอาจกลายเป็น PTSD ได้

*ทำไมบางคนถึงรู้สึกผิดที่ยังมีชีวิตอยู่?*

Survivor’s Guilt เกิดจากหลายปัจจัย เช่น...

- สมองและอารมณ์ที่เชื่อมโยงกับความสูญเสีย : สมองส่วน amygdala และ prefrontal cortex มีบทบาทในการประมวลผลความเครียดและความผิด ทำให้เกิดความรู้สึกผิดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง

- Norms ทางสังคมและวัฒนธรรม : ในหลายวัฒนธรรมมีความเชื่อเกี่ยวกับ "ความยุติธรรม" และ "การเสียสละ" ทำให้ผู้รอดชีวิตรู้สึกว่าตนเองต้อง "ชดใช้"

- ความเชื่อที่บิดเบี้ยว (Cognitive Distortion) : ผู้รอดชีวิตมักคิดว่า "ถ้าฉันช่วยเขาได้มากกว่านี้ เขาอาจจะรอด" แม้ว่าความจริงแล้วสถานการณ์อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของพวกเขา


*การจัดการและการรักษา Survivor’s Guilt*

 การบำบัดทางจิต (Psychotherapy)

- CBT (Cognitive Behavioral Therapy) ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเหตุการณ์นั้นอยู่นอกเหนือการควบคุม

- EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) ช่วยลด Flashback และความเครียดที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ

-การใช้ยา (Medication) : ยากลุ่ม SSRIs หรือ SNRIs สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่มาพร้อมกับ Survivor’s Guilt

- การสร้างความหมายใหม่ให้ชีวิต : บางคนสามารถฟื้นตัวได้โดยใช้ชีวิตที่มีความหมาย เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น การอุทิศตนให้กับงานอาสาสมัคร หรือการแบ่งปันประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบเหตุการณ์เดียวกัน

แท็กบทความ