
งานวิจัยทางจิตวิทยาชี้ว่าคนที่ผัดวันประกันพรุ่งแบบเรื้อรัง (chronic procrastination) มีแนวโน้มที่จะมีระดับความเครียดสูงขึ้น 45% และเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่ลงมือทำทันที
“เดี๋ยวก่อนนะ…” คำง่ายๆที่ดูไม่มีพิษมีภัย แต่รู้ตัวอีกทีมันอาจกลายเป็นสิ่งที่ขังเราไว้ในชีวิตที่เราไม่ได้ต้องการ
“เดี๋ยวก่อน” อาจเป็นกรงขังที่เราสร้างเอง หลายครั้งเราไม่ได้ตัดสินใจทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่เพราะเราไม่อยากทำ แต่เพราะเราบอกตัวเองว่า “เดี๋ยวก่อน”
• เดี๋ยวค่อยเริ่มออกกำลังกาย
• เดี๋ยวค่อยขอโทษคนที่เราทำผิด
• เดี๋ยวค่อยใช้เวลากับครอบครัวให้มากกว่านี้

สรุปข่าว
งานวิจัยทางจิตวิทยาชี้ว่าคนที่ผัดวันประกันพรุ่งแบบเรื้อรัง (chronic procrastination) มีแนวโน้มที่จะมีระดับความเครียดสูงขึ้น 45% และเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่ลงมือทำทันที
“เดี๋ยวก่อน” กับความสัมพันธ์ที่หายไป
เราอาจเคยคิดว่า…
• เดี๋ยวค่อยโทรหาเพื่อนที่ห่างหายกันไป
• เดี๋ยวค่อยพูดคุยกับพ่อแม่ให้มากกว่านี้
• เดี๋ยวค่อยบอกคนที่เรารักว่าเรารักเขา
แต่วันหนึ่งเมื่อเราอยากทำจริงๆ มันอาจสายเกินไปแล้ว เพราะบางโอกาสไม่มีให้เราเริ่มใหม่เสมอไปผลสำรวจพบว่า 72% ของผู้ที่สูญเสียคนรักโดยไม่ได้มีโอกาสบอกลา รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ใช้เวลากับเขามากพอ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะโศกเศร้าเรื้อรัง
“เดี๋ยวก่อน” ทำให้เราติดอยู่ที่เดิม เคยสังเกตไหมครับว่า หลายๆอย่างที่เราพูดว่า“สักวัน”มักกลายเป็นสิ่งที่เราไม่ได้ทำเลย
• “เดี๋ยวค่อยเรียนรู้สิ่งใหม่” สุดท้ายเรายังทำงานเดิมที่ไม่พัฒนา
• “เดี๋ยวค่อยเริ่มทำธุรกิจ” แล้วเวลาก็ผ่านไป 5 ปีโดยที่เรายังอยู่จุดเดิม
• “เดี๋ยวค่อยมีความสุข” แล้วเราก็ใช้ชีวิตอยู่กับความเครียดต่อไป
การศึกษาในด้านพฤติกรรมศาสตร์พบว่าคนที่ลงมือทำสิ่งที่สำคัญโดยไม่รอให้พร้อม100%มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จมากกว่าถึง 80%
“เดี๋ยวก่อน”ไม่ได้ผิด…ถ้าเราควบคุมมันได้ : ในทางปฏิบัติไม่ใช่ทุกอย่างต้องรีบตัดสินใจทันที สิ่งที่สำคัญก็คือเราต้องแยกแยะให้ได้ว่า “เดี๋ยวก่อน” นี้มีประโยชน์หรือแค่เป็นข้ออ้าง?
• ถ้า “เดี๋ยวก่อน” เพราะยังไม่มีข้อมูลมากพอ = ดี
• ถ้า “เดี๋ยวก่อน” เพื่อเลี่ยงความกลัวและไม่อยากเผชิญหน้า = อันตราย