
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท โพสต์ข้อมูลผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” เปิดความเสี่ยงของการนอนน้อยว่า 6 ชั่วโมง ระบุว่า
ใครนอนน้อยกว่า 6 ชม. แต่ไม่งีบกลางวัน เสี่ยงอัมพาต 82 เปอร์เซนต์
การนอนหลับน้อยกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
การศึกษานี้พบว่า การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะใน ผู้หญิง หรือ ผู้ที่มีอายุ 45 – 65 ปี และผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

สรุปข่าว
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (%)
1. นอน เท่ากับหรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน จะ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 65 เปอร์เซนต์ (HR = 1.65)
2. นอนรวม น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน จะความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 62 เปอร์เซนต์ (HR = 1.62)
3. นอน เท่ากับหรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมง และ ไม่นอนกลางวัน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 82 เปอร์เซนต์ (HR = 1.82)
ข้อสรุป
• การนอนหลับสั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระของโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
• การงีบหลับ (1–60 นาที) อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ
ที่มาข้อมูล : Facebook: สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์
ที่มารูปภาพ : canva