

สรุปข่าว
หนาวนี้ต้องรู้! 6 โรคติดต่อสำคัญ ที่มากับฤดูหนาว เตรียมรับมือโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่หากป่วยแล้วโอกาสมีอาการหนักจะมากกว่าคนทั่วไป หลังประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ
ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จะมีอุณหภูมิต่ำที่สุด แต่อากาศหนาวแบบนี้ ก็มีโรคภัยไข้เจ็บที่มากับหน้าหนาวเช่นกัน
ล่าสุด กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ เตือนประชาชนถึง 6 โรคติดต่อสำคัญ ที่มากับฤดูหนาว รู้ให้ทัน เพื่อป้องกันก่อนเจ็บไข้ ดังนี้
6 โรคติดต่อที่มากับฤดูหนาว
1. โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อไวรัส RSV
สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
การติดต่อ : หายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ไอ จาม หรือ มือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ แล้วมาสัมผัสจมูก ปาก หรือคา
อาการ :
โรคไข้หวัด > มีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บหรือแสบคอ
โรคไข้หวัดใหญ่ > จะรุนแรงกว่า คือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ปวดตามกระดูก กล้ามเนื้อ มักมีอาการคลื่นไส้
โรคติดเชื้อไวรัส RSV > ไอมาก มีเสมหะ หายใจเร็วและแรง หอบเหนื่อย หรือมีเสียงวี๊ดขณะหายใจ และอาจติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างใต้
การป้องกัน :
ปิด > ปิดปาก ปิดจมูก ทุกครั้งที่ไอหรือจาม
ล้าง > ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
เลี่ยง > เลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน
หยุด > หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับคนหมู่มากเมื่อป่วย
2. โรคปอดบวม
สาเหตุ : อาจเป็นผลสืบเนื่องจากโรคไข้หวัด และการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง
การติดต่อ : หายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอ จาม หรือ มือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ แล้วมาสัมผัสจมูก ปาก หรือตา
อาการ : มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอมาก หายใจหอบเร็ว ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การป้องกัน :
ปิด > ปิดปาก ปิดจมูก ทุกครั้งที่ไอหรือจาม
ล้าง > ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
เลี่ยง > เลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน
หยุด > หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับคนหมู่มากเมื่อป่วย
3. โรคหัด
สาเหตุ : เกิดจากชื้อไวรัสหัด
การติดต่อ : สัมผัสโดยตรงจากการไอ จาม สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
อาการ : ระยะแรกคล้ายโรคไข้หวัด หลังจากนั้นมีไข้สูงทันที ลักษณะไข้สูงลอย กินยาลดไข้แล้วไข้ยังไม่ลด ลักษณะผื่นจะปรากฏหลังจากมีไข้ 3 - 4 วัน ขนาดผื่นแดงเท่าหัวเข็มหมุดมักจะเริ่มขึ้นที่โรผม
การป้องกัน : ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
โรคหัดเป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง
> ครั้งที่ 1 อายุ 9 เดือน
> ครั้งที่ 2 อายุ 1 ปี 6 เดือน
เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหัด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
4. โรคสุกใส
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส
การติดต่อ : ผ่านทางลมหายใจ ไอ จาม การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกัน
อาการ : มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ในผู้ใหญ่มีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับวันที่มีไข้ หรือหลังจากมีไข้ 1 วัน เริ่มแรกผื่นจะแดงราบ ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสๆ และมีอาการคัน
การป้องกัน : ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทําความสะอาดมือ หากมีอาการป่วย ควรให้หยุดเรียนหยุดงาน ประมาณ 1 สัปดาห์
5. โรคมือ เท้า ปาก
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
การติดต่อ : เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางปาก จากการที่เชื้อโรคติดอยู่บนมือที่ปนเปื้อน อุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
อาการ : มีไข้ 2-4 วัน เมื่ออาหาร ในปากมีแผลเหมือนแผลร้อนใน และมีผื่นเป็นจุดแดง (ไม่มักคัน) ที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่ก้น ต่อมาตุ่มจะกลายเป็นผื่นพองใสแดง อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 10 วัน
การป้องกัน :
1. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด หรือเจลล้างมือทุกครั้งก่อน-หลัง การรับประทานอาหาร หลังการขับถ่าย และการเล่นของเล่น ตัดเล็บให้สั้น ซึ่งเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อได้ดี
2. การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง ดูแลรักษาและทำความสะอาดอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นต่างๆ เป็นประจำและสม่ำเสมอด้วยนํ้ายาทำความสะอาด
3. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช่แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อน ขวดนม ร่วมกับผู้อื่น
4. หลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนในช่วงที่มีการระบาด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายนํ้า ควรมีอาการถ่ายเทได้สะดวก
5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย และควรแยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ
6. เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กอื่น
6. โรคอุจจาระร่วง ในเด็กเล็ก
สาเหตุ : โรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวมักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สาเหตุหลักเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
การติดต่อ : โดยการดื่มนํ้า หรือรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน
อาการ : ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก หรือเป็นมูกเลือดแม้เพียง 1 ครั้งต่อวัน ก็ถือว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงได้ (ยกเว้นเด็กที่กินนมแม่ อาจถ่ายอุจจาระนิ่มเหลววันละ 3-4 ครั้ง โดยไม่มีอาการ อ่อนเพลียก็ถือว่าปกติ)
หากมีอาการไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย และไม่ไดรับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว ร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับอุจจาระจํานวนมาก อาจทําให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้
การป้องกัน :
1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะสะอาด ปลอดภัย และทำให้เด็กมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ
2. ผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนการเตรียมอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
3. ให้เด็กกินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด
4. ให้เด็กที่ป่วยถ่ายอุจจาระในภาชนะที่รองรับมิดชิด แล้วนำไปกำจัดในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายต่อไป
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยโรคดังกล่าว และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
อย่างไรก็ตาม หากประชาชนท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. โทร 0 2203 2887-9
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร
ภาพจาก แฟ้มภาพ Reuters
ที่มาข้อมูล : -