ไขความลับ “เทโลเมียร์” คืออะไร ชะลอความแก่ให้ช้าลงได้แค่ไหน

สรุปข่าว

นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ วินเซลล์ รีเซิร์ช  ได้อธิบายถึง "เทโลเมียร์" ว่า เป็นส่วนปลายของโครโมโซม เป็นส่วนลำดับเบสที่ไม่มีความหมายในการแปลรหัส แต่มีหน้าที่ปกป้องโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลาย โดยมีหน้าที่ป้องกันยีนภายในโครโมโซม ทั้งนี้ เทโลเมียร์ จะสั้นลงเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต (Hayflick) ณ จุดนี้จะทำให้เกิดการสลับตำแหน่งของดีเอ็นเอที่อยู่ภายในโครโมโซม ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงเกิดการเสื่อมสภาพของอวัยวะและร่างกาย 


นอกจากนี้ นพ.โอฬาร  ยังระบุว่า การสลับตำแหน่งดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นกับ ยีนมะเร็ง (oncogene) หรือ ยีนกดมะเร็ง (tumor suppressor gene) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดที่มี Philadelphia chromosome เป็นต้น การตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์มีความสำคัญ เพราะเป็นวิธีการที่ทำให้ทราบอายุของเซลล์ภายในร่างกายว่ามีการแปรผันตรงกับอายุจริงของเราหรือไม่ เช่น เทโลเมียร์ที่หดสั้นลง หมายถึง ชีวิตเราสั้นลงเรื่อยๆ ปัจจุบัน การวิจัยกว่า 100 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของเซลล์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคร้าย (Age-related diseases) เช่น Cardiovascular (เช่น stroke, heart attacks),โรคเบาหวาน, โรคทางสมอง(อัลไซเมอร์, พาร์กินสัน, สมองเสื่อม) การเสียชีวิตก่อนกำหนด และความเสื่อมชราของเซลล์ในร่างกาย ดังนั้น หากผลของการตรวจสอบของเทโลเมียร์มีความยาวก็จะสามารถบ่งบอกว่าสภาวะร่างกายอยู่ในเกณฑ์ดี และจะมีชีวิตที่ยืนยาว 


ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

Website : https://www.tnnthailand.com/

Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube

TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok

Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE/

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ชรา
ชะลอวัย
สูงวัย
เทโลเมียร์
พันธุกรรม