
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล เปิดเผยข้อมูลสถิติโลกร้อนในปี 2567 จากสำนักงานโคเปอร์นิคัสแห่งสหภาพยุโรป ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวระบุว่า นี่คือสถิติที่น่าสะพรึงของปี 2567 โลกร้อนเกิน 1.6 องศาฯ อุณหภูมิอากาศโลกร้อนที่สุดในรอบ 85 ปี ปีที่ร้อนเป็นอันดับสองล้วนอยู่ในช่วง 5 ปีล่าสุด ยกเว้นขั้วโลกเหนือ น้ำทะเลร้อนที่สุดตั้งแต่วัดมา และร้อนที่สุดเป็นอันดับสองคือปี 2566 หมายถึงทะเลร้อนขึ้นเรื่อยๆ แม้จะน้อยกว่าอากาศ และทะเลเก็บความร้อนให้โลก 90% เมื่อทะเลร้อนจึงยากจะหยุดได้ ทุกอย่างล้วนชี้ตรงกันว่า “เรากำลังอยู่ในช่วงโลกร้อนเร่งเครื่อง” ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โลกร้อนขึ้น 0.2 องศาเซลเซียส หากเป็นเช่นนี้ ภายในปี 2573 เราอาจถึงจุดกู่ไม่กลับ

สรุปข่าว
โลกร้อนไม่ใช่หมายถึงเราร้อนขึ้นอย่างเดียว แต่หมายถึงสภาพอากาศแปรปรวน เกิด Extreme Weather บ่อยขึ้น เช่น คลื่นความเย็นสุดขั้วกำลังถล่มญี่ปุ่น อิสตัลบลูหิมะตก แต่สำหรับประเทศไทย ภัยพิบัติหลักที่สร้างความสูญเสียทรัพย์สิน บางครั้งอาจถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิต คือน้ำท่วม เราอาจมีความเสี่ยงน้อยในเรื่องพายุและคลื่นความร้อน คลื่นความหนาว แต่เราเสี่ยงต่อน้ำท่วม นอกจากนี้ยังรวมถึงฝนฟ้าแปรปรวน พืชผลทางการเกษตรมีปัญหา ป่าแห้งแล้งติดไฟง่าย ลมแรงยิ่งเรงให้ไฟโหมแรงขึ้น ทะเลเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศเสื่อมโทรม กลายเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ชิ่งไปมา
การรับมือโลกร้อนแบบลดก๊าซเรือนกระตกด้วยกลไกทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดี แต่กว่าจะเห็นผลเราอาจไม่อยู่บนโลกอีกต่อไปแล้ว การรับมือต่อโลกที่แปรปรวนหนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 1-20 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเราอาจจะโดนแล้วโดนอีก และนี่คือเรื่องใกล้ตัวที่เราจะเจอไปอีกนาน แต่ปัญหาคือสภาพเศรษฐกิจของเราตอนนี้ไม่เอื้ออำนวย เพราะการรับมือโลกร้อนต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือระดับครอบครัว จึงเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งของพวกเราที่ภาวะสายป่านใกล้ขาดจะกลายเป็นชักหน้าไม่ถึงหลัง เหตุการณ์เสียตังค์แบบฉับพลันอาจเกิดบ่อยขึ้น
ดังนั้นทางออกคือสร้างความยืดหยุ่นทางการเงินให้ตัวเอง คิดให้รอบครอบหากมีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง มีเงินออมให้เพียงพอในการรับมือ เรียนรู้เรื่องโลกร้อนและภัยพิบัติให้มาก และหาทางประยุกต์ใช้ทั้งในเรื่องได้เงินและไม่เสียเงิน
เตือนเพื่อนธรณ์แล้วนะครับ สถานการณ์ตอนนี้ไม่ใช่เล่นๆ หากเป็นต้มกบ กบก็รู้แล้วว่าโดนต้ม แต่ฝาหม้อดันปิด กบกระโดดออกไปไม่ได้ Because there is no Planet B เพราะเรามีโลกใบเดียว
ที่มาข้อมูล : Facebook: ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์
ที่มารูปภาพ : Envato