
ประเทศเกาะในแปซิฟิก 14 ประเทศได้รับเงินช่วยเหลือมูลค่า 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกองทุนสภาพภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund) เพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงทูน่า ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศเหล่านี้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ทูน่าหลายพันธุ์เคลื่อนย้ายออกจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ของประเทศเกาะเหล่านี้
เงินทุนดังกล่าวจะถูกใช้ในการพัฒนาระบบเตือนล่วงหน้าที่ช่วยให้ประเทศเกาะในแปซิฟิกสามารถติดตามการเคลื่อนย้ายของทูน่า และหากปลาทูน่าย้ายออกจากน่านน้ำของพวกเขา ประเทศเหล่านี้ก็จะสามารถขอชดเชยได้ จากการศึกษาโดย Conservation International พบว่า หากไม่มีมาตรการรับมือ ทูน่าที่จับได้จากเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเกาะในแปซิฟิกจะลดลงเฉลี่ย 20% ภายในปี 2050 ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการอนุญาตให้เรือประมงจับปลาไปกว่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ

สรุปข่าว
Jack Kittinger ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจทางทะเลจาก Conservation International กล่าวถึงการสูญเสียทรัพยากรสำคัญนี้ว่าเป็นปัญหาความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า "ประเทศเหล่านี้มีส่วนในการก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด แต่กลับต้องเผชิญกับผลกระทบที่ทำให้สูญเสียทรัพยากรที่พวกเขาดูแลได้ดีที่สุดในมหาสมุทร"
นอกจากนี้ เงินทุนยังรวมถึงการส่งเสริมการบริโภคทูน่าและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารในประเทศเกาะเหล่านี้ เพื่อรับมือกับการลดลงของปลาทูน่าที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญให้กับประชากรในภูมิภาคนี้
ที่มาข้อมูล : conservation.org
ที่มารูปภาพ : Reuters